หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อธิปไตยกับเขตแดน

      


    รัฐ คือ  องค์อธิปัตย์แห่งแผ่นดิน มักมาพร้อมกับความเข้าใจในเชิงอุดมคติว่า เป็นผู้ปกครองประชาชาติหรือกลุ่มหนึ่งซึ่งมีลักษณะร่วมบางประการ ไม่ว่าจะเป็นชาติพันธู์ ภาษา สิทธิทางเศรษฐกิจ การเมือง ระบบความเชื่อ อุดมการณ์ บรรพบุรุษ หรือประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกันมายาวนาน

     รัฐสมัยใหม่ ซึ่งเป็นรัฐอธิปไตยนั้น เป็นความสัมพันธ์และการจัดการปกครองเชิงพื้นที่ ที่วางอยู่บนหลักการครอบครองดินแดนที่เป็นพื้นที่กายภาพทางภูมิศาสตร์ ตัวแบบของรัฐอธิปไตยในฐานะหน่วยการปกครองซึ่งวางอยู่บนแนวความคิดว่ามีอำนาจการปกครองสูงสุด และสมบูรณ์เหนือพื้นที่ที่มีแนวอาณาเขต กำหนดไว้อย่างชัดเจน และไม่ยอมรับอำนาจใดอยู่เหนือกว่าจากภายนอกเขตแดน

    ภายใต้การสถาปณาการปกครองที่มีอำนาจศูนย์กลางสูงสุดหนึ่งเดียวเหนือดินแดนที่มีอาณาเขตกำหนดไว้อย่างชัดเจน อยู่ตัวและคงที่เพื่อควบคุมคนและทรัพยากรที่มีอยู่ภายในเขตแดนนั้น รวมทั้งการข้ามเข้ามาและเคลื่อนออกไปของคน ความคิด วัตถุและสิ่งของต่างๆ 




ที่มาบทความ :  Dek-Southeast Asia

ความสำคัญ : เขตแดน พรมแดน ชายแดน




ความสำคัญ : เขตแดน พรมแดน ชายแดน


1) ชายแดนสร้างความเป็นพรมแดนให้เกิดขึ้นเสมอ


2) ไม่มีพื้นที่ใดในโลกเป็นชายแดนหรือพรมแดนมาตั้งแต่ต้น


3) เขตแดน พรมแดน และพื้นที่ชายแดน ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามสภาพภูมิศาสตร์หรือภูมิประเทศ แต่เกิดขึ้นโดยการกำหนดของมนุษย์



พรมแดนแม่น้ำซูเชียเต กัวเตมาลา-เม็กซิโก
ที่มาภาพ : https://board.postjung.com/1108699

4) พรมแดนของรัฐอธิปไตยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ถูกกำหนดขึ้นเมื่อตอนที่ตนเองยังไม่มีอธิปไตย เช่น พรมแดนของประเทศในแถบลุ่มน้ำโขงเกิดจากสนธิสัญญาที่ทำกับประเทศเจ้าอาณานิคมทั้งสิ้น


5) ในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมแนวทางหนึ่งที่สังคมมนุษย์ใช้กันมายาวนาน คือ การจัดระเบียบความสัมพันธ์โดยอาศัยพื้นที่เป็นหลัก


6) การแบ่งกั้นเขตแดน เพื่อกำหนดอาณาบริเวณของพื้นที่ พร้อมไปกับการให้ความหมายและวางวิถีปฏิบัติอันเหมาะสมสำหรับพื้นที่นั้นเป็นเรื่องที่พบได้เสมอ



แม่น้ำโขง  ไทย-ลาว
ที่มาภาพ : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=32&chap=5&page=t32-5-infodetail08.html


7) การกำหนดเขตแดนและการลากเส้นเเบ่งหรือวางแนวเขตกั้น ทำให้เกิดอาณาบริเวณ


8) การขีดเส้นแบ่งใดๆ มักจะมาพร้อมกระบวนการสร้างความเป็นเขาเป็นเรา และสร้างความเป็นอื่นของสิ่งที่อยู่ในและนอกอาณาเขตที่กำหนดขึ้นมา


9) กระบวนการจัดการพื้นที่  เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปพร้อมกับการจัดการทางสังคม



ตลาดชายแดนไทย-มาเลเซีย
ที่มาภาพ : http://www.andamanexpert.com/site/service-detail/595


ที่มาบทความ  :  Dek-Southeast Asia


วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เซโนแห่งเอเลีย กับนิยามของพรมแดน


ที่มาภาพ : https://www.philosophybasics.com/philosophers_zeno_elea.html

เซโนแห่งเอเลีย (ZENO OF ELEA)


ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับนักปรัชญาคนนี้ดีกว่า เซโนแห่งเอเลีย เป็นนักปรัชญาชาวกรีก เขาเกิดที่เมืองเอเลียทางตอนใต้ของอิตาลี เมื่อประมาณก่อนคริสศักราช 490 เป็นศิษย์ของพาร์เมนิดีส โดยแนวคิดของเซโนแห่งเอเลีย เป็นที่ยอมรับว่ามีความจริงแท้และความจริงเทียม ซึ่งเขามีวิธีการอธบายและสามารถพิสูจน์ได้โดยหลักการตรรกวิทยา ด้วยเหตุนี้ทำให้เซโนแห่งเอเลียเป็นผู้บุกเบิกวิชาตรรกวิทยา

ที่มาภาพ : https://www.publicradiotulsa.org/world-music


เซโนแห่งเอเลีย (ZENO OF ELEA) เกี่ยวข้องกับนิยามของพรมแดนอย่างไร

อย่างที่เรารู้ในความหมายของคำว่า พรมแดน ( Frontier ) คือ บริเวณพื้นที่เขตแดนซึ่งมีความคาบเกี่ยวระหว่างประเทศที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกัน และมีสภาพเป็นไปตามเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ โดยไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัดว่า จะครอบคลุมบริเวณพื้นที่ทั้งในด้านยาวและด้านกว้างลึกเข้าไปในประเทศใดประเทศหนึ่งมากหรือน้อยเพียงใด
และพรมแดนเปรียบเสมือนสิ่งคั่นกลาง ดังบทพิสูจน์เซโนแห่งเอเลีย ดังนี้


"บทพิสูจน์เรื่องสิ่งคั่นกลาง สมมติว่า มีความเป็นจริงอยู่แค่สองสิ่งและแยกเป็นอิสระแก่กัน แต่การที่สิ่งสองสิ่งไม่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะมีสิ่งอื่นมาคั่นกลาง สิ่งคั่นกลางนั้น ย่อมไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับสิ่งทั้งสองที่มีอยู่แต่แรก ดังนั้นสิ่งคั่นกลางนั้นจึงมีค่าเท่ากับความเป็นจริงหน่วยที่สาม และในลักษณะเดียวกันในรูปแบบลำดับเดิม ถ้ามีสิ่งมาคั่นกลางในระหว่างสิ่งที่สามกับสิ่งที่สี่ หรือสิ่งที่สี่กับสิ่งที่ห้า คือยิ่งมีสิ่งมาคั่นกลางมากขึ้นเท่าไร เราก็จะได้ความจริงมากขึ้นเท่านั้นและเพิ่มไปเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จบ "

พรมแดน เปรียบเสมือน สิ่งคั่นกลาง ที่แต่ก่อนพรมแดนอาจมิใช่การปักปันอาณาบริเวณ ทุกคนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ แต่เมื่อคำว่าพรมแดนเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในแง่ของเจ้าของรัฐ สิ่งคั่นกลางระหว่างสองสิ่งนี้จะแยกเป็นอิสระต่อกัน ไม่รวมเป็นหนึ่งเดียว ดังเช่น เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้  เพียงเสียวนาทีเดียว เมื่อผู้นำประเทศหรือผู้มีอำนาจต้องการแบ่งแยก จากที่เคยเป็นหนึ่งเดียวกันกลับต้องแยกจากกัน...





ที่มาบทความ :
https://www.philosophybasics.com/philosophers_zeno_elea.html

https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/western_philosophy/10.html