หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

นิชิเร็น | นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว


พระนิชิเร็นไดโชนิน
ที่มาภาพ : http://www.tairomdham.net/index.php?topic=10934.0

ช่วงที่ญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาวะสงคราม เกิดภัยพิบัติธรรมชาติที่ร้ายแรง เกิดโรคระบาด และได้รับความอดอยาก ทำให้คนเกือบครึ่งประเทศถูกทำลายและเสียชีวิต แต่สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ ศาสนาเองก็ยังดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด ไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความหวังขึ้นได้ เช่น นิกายสุขาวดี พวกเขากลับมองว่า ประชาชนจะมีความสุขได้ต่อเมื่อเสียชีวิตไป ยิ่งทำให้ทุกคนรู้สึกว่าชีวิตนั้นได้สูญสิ้นความหวัง ทำให้ พระนิชิเร็นไดโชนิน รู้สึกแปลกใจว่าทำไมชีวิตของประชาชนจึงมีแต่ความทุกข์สาหัสขนาดนี้ ทำไมคำสอนนิกายสุขาวดีจึงไม่สามารถช่วยประชาชนให้พ้นทุกข์และช่วยโลกให้พ้นความวิบัติได้ พระนิชิเร็นจึงเริ่มต้นศึกษาค้นคว้าพระสูตรทั้งหมดเพื่อหาคำตอบจนสามารถรู้แจ้งว่า นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว หรือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็นสิ่งเดียวที่มีพลังต่อการช่วยเหลือประชาชนได้
กำเนิดพระนิชิเร็น
ที่มาภาพ : https://tolls92re.wordpress.com/2014/08/31/การเกิดของพระนิชิเร็นไ/

จากนั้นได้เริ่มเผยแผ่คำสอนโดยการให้สวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว นอกจากนี้พระนิชิเร็นยังได้เตือนรัฐบาลว่า อย่าเชื่อถือต่อคำสอนที่ผิดเพราะจะทำให้ประเทศชาติต้องล่มจม ทั้งยังเสริมว่าคำสอนของพุทธศาสนาอันแท้จริงมีจุดหมายอยู่ที่สันติภาพและความสุขของประเทศทั้งหมด ทำให้รัฐบาลและผู้นำนิกายอื่นๆในสมัยนั้นต่างพากันโกรธแค้นมาก พระนิชิเร็นโดนประทุษร้ายมาตลอดแต่ในที่สุดท่านก็สามารถจารึก โงะฮนซน ขึ้นเพื่อเป็นสิ่งสักการะสูงสุดแก่ประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งบูชาที่แสดงสภาพชีวิตพุทธะ การเห็นแจ้งจิต ที่สำคัญก็คือในการสวดนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ต้องสวดต่อเนื่องกันและต้องสวดต่อหน้าโงะฮนซน เนื่องจากว่า จิตของเรามักเปลี่ยนไปๆมาๆ  และสิ่งที่ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้คือ คำสอนใน ทฤษฎี 10 โลก ได้แก่



1. โลกนรก “ความโกรธแค้นคือนรก” โลกนรกจึงไม่ใช่โลกหลังความตาย แต่เป็นโลกที่เราดำเนินชีวิตประจำวัน ใช้เรียกสภาพชีวิตที่เป็นทุกข์ ทุกข์ด้วยความโกรธแค้นไม่มีอิสระ ถูกมัดด้วยความเศร้าหมอง

2. โลกเปรต “ความโลภคือเปรต” สำหรับมนุษย์ ความปรารถนาต่างๆ ไม่มีขอบเขตจำกัด ตราบใดที่ถูกทำให้หวั่นไหวด้วยความปรารถนา แต่เราสามารถควบคุมได้โดยเลือกดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง
3. โลกเดรัจฉาน “ความโง่เขลาคือเดรัจฉาน” เป็นสภาพชีวิตที่เหมือนสัตว์ ที่มีการกระทำไปตามสัญชาตญาณ
4. โลกอสุระ “ความคดเคี้ยวคืออสุระ” เป็นสภาพชีวิตที่ยึดตนเองเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงคนอื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความอิจฉา ฉุนเฉียว โกรธแค้น และชอบการต่อสู้ อาจก่อให้เกิดสงคราม
5. โลกมนุษย์ “ความสงบราบเรียบคือมนุษย์” เป็นสภาพที่ได้รับความสงบสุขราบรื่นในช่วงเวลาสั้นๆ ท่ามกลางการดำ เนินชีวิตที่หวั่นไหวไปตามอารมณ์
6. โลกเทวะ “ความปิติยินดีคือเทวะ” เป็นสภาพที่ยินดี และพอใจเหมือนได้ ขึ้นไปถึงสวรรค์ สภาพชีวิตที่ร่าเริง ในเวลาที่ดีใจมาก มีความรู้สึกราวกับว่าเท้าไม่ถึงพื้น เรียกว่า “โลกเทวะ” แต่ เป็นโลกที่ไม่จีรังยั่งยืน
7. โลกสาวก เป็นสภาพจิตใจที่เข้าใจในความคิดเห็น ประสบการณ์ ของผู้คนต่างๆ พยายามพัฒนา ตนเองเติมเต็มความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยการขัดเกลาตนเอง และใฝ่หาความรู้ตลอดจนศิลปวิทยาการอยู่ เสมอ
8. โลกปัจเจก เป็นสภาพชีวิตที่ไปสัมพันธ์กับอะไรบางอย่างแล้วสามารถตระหนักรู้ในกฎเกณฑ์ของชีวิต และของจักรวาลเพียงบางส่วน รู้สึกปิติยินดีที่ได้สร้างหรือค้นพบอะไรขึ้นมา ก่อให้เกิดความคิดที่ว่าตนเองยิ่งใหญ่ ไม่แยแสผู้อื่น และเชื่อว่าตนเองเท่านั้นที่เข้าสู่สภาวะนั้นได้
9. โลกโพธิสัตว์ เป็นสภาพการเห็นประโยชน์ของผู้อื่น พยายามมอบสิ่งดีๆให้กับชีวิตคนอื่น
10. โลกพุทธ เป็นสภาพสูงสุดในชีวิตของมนุษย์ หยั่งรู้ถึงความสุขสัมพันธ์และความสุขสัมบูรณ์ - ความสุขสัมพันธ์ หมายถึงสภาพที่พึงพอใจทางด้านวัตถุสิ่งของหรือความอยาก ความปรารถนาที่ได้รับการเติมเต็ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีขอบเขตจำกัด - ความสุขสัมบูรณ์ หมายถึงสภาพชีวิตที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเพียงแต่ ได้มีชีวิตอยู่ก็มีความสุขที่สุดแล้ว นั่นคือ ความสุขด้านจิตใจ

ที่มาภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/นามูเมียวโฮเร็งเงเกียว

สัทธรรมปุณฑริกสูตร สอนว่ามนุษย์ทุกคนมีสภาวะพุทธะที่สูงส่งอยู่ภายในชีวิตทุกคน แต่จะทำอย่างไร ให้โลกพุทธปรากฏออกมาได้ ความเป็นไปได้ดีก็จะปรากฏออกมาเอง สภาพ 10 โลก จะถูกดึงออกมาโดยอาศัยปัจจัยอย่างหนึ่งหรือโอกาสที่จะทำให้ปรากฏสภาพชีวิตแห่งความสุขเหนือความทุกข์ เนื่องจากว่าปัจจัยที่จะดึงโลกพุทธซึ่งเป็นสภาพชีวิตที่สูงส่งที่สุดออกมานั้นไม่มีอยู่ในโลกนี้ จึงไม่สามารถปรากฏออกมาได้


ไดโงะฮนซน
ที่มาภาพ : https://plus.google.com/117700424771219240294/posts/bet4PBCPnue

ทั้งนี้การสวดนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวตามหลักสัทธรรมปุณฑริกสูตรในนิกายนิชิเร็นมีความเชื่อว่า การปฎิบัติธรรมจะสามารถนำพาความสุขและสันติสุขมาสู่โลก เพราะเป็นการสวดเพื่อปลอบโยนจิตใจจากสภาวะความตึงเครียดในหน้าที่การงานและสิ่งแวดล้อมอันเร่งรีบที่ชาวญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ สวดเพื่อบรรเทาปัญหาความทุกข์ในชีวิต ทำให้เข้าใจคามเชื่อมโยงของชีวิต เข้าใจความทุกข์ของคนอื่นและพร้อมที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้น โดยการมอบความหวังให้พวกเขา เพื่อที่พวกเขาจะสามารถเดินหน้าเข้าหาความสุขได้ ดำเนินชีวิตอย่างเต็มที่ในรูปแบบของตนเอง นอกจากนี้ยังทำให้เป็นคนมองเห็นคุณค่าในชีวิตของตนเองและผู้อื่น เพราะมนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเป็นพระพุทธะที่มีจิตใจสูงส่ง ถ้าเราให้เกียรติคนอื่นและเข้าใจว่าคนอื่นต่างก็มีสภาพจิตใจที่สูงส่งเหมือนกับเรา โลกของเราก็สามารถเกิดสันติสุขได้

ที่มาภาพ : https://learnjapanese123.com/what-are-the-different-japanese-household-shrines-and-altars/butsudan-praying1/
ซึ่งคำสอนนิชิเร็นทั้งหมดนี้ล้วนมีหลักปฎิบัติที่ไม่ยุ่งยาก ไม่มีการกราบไหว้บูชาสิ่งอื่นไดนอกจากโงะฮนซน ไม่มีการนั่งสมาธิวิปัสสนาหรือกรรมฐาน เพียงแค่ท่องบทสวดนัมเมียวโฮเรงเงเคียว ที่แปลว่า ขอนอบน้อมจงมีแด่สัทธรรมปุณฑริกสูตร เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระอมิตาพุทธะได้แล้ว จนทำให้พุทธศาสนานิกายนิชิเร็นกลายเป็นที่นิยมชมชอบของชาวญี่ปุ่น
ที่มาภาพ : https://nstmyosenji.org/basic-terminology-of-nichiren-shoshu/buddhist-altar-offerings




ที่มาบทความ :

1 ความคิดเห็น: