หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เซโนแห่งเอเลีย กับนิยามของพรมแดน


ที่มาภาพ : https://www.philosophybasics.com/philosophers_zeno_elea.html

เซโนแห่งเอเลีย (ZENO OF ELEA)


ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับนักปรัชญาคนนี้ดีกว่า เซโนแห่งเอเลีย เป็นนักปรัชญาชาวกรีก เขาเกิดที่เมืองเอเลียทางตอนใต้ของอิตาลี เมื่อประมาณก่อนคริสศักราช 490 เป็นศิษย์ของพาร์เมนิดีส โดยแนวคิดของเซโนแห่งเอเลีย เป็นที่ยอมรับว่ามีความจริงแท้และความจริงเทียม ซึ่งเขามีวิธีการอธบายและสามารถพิสูจน์ได้โดยหลักการตรรกวิทยา ด้วยเหตุนี้ทำให้เซโนแห่งเอเลียเป็นผู้บุกเบิกวิชาตรรกวิทยา

ที่มาภาพ : https://www.publicradiotulsa.org/world-music


เซโนแห่งเอเลีย (ZENO OF ELEA) เกี่ยวข้องกับนิยามของพรมแดนอย่างไร

อย่างที่เรารู้ในความหมายของคำว่า พรมแดน ( Frontier ) คือ บริเวณพื้นที่เขตแดนซึ่งมีความคาบเกี่ยวระหว่างประเทศที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกัน และมีสภาพเป็นไปตามเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ โดยไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัดว่า จะครอบคลุมบริเวณพื้นที่ทั้งในด้านยาวและด้านกว้างลึกเข้าไปในประเทศใดประเทศหนึ่งมากหรือน้อยเพียงใด
และพรมแดนเปรียบเสมือนสิ่งคั่นกลาง ดังบทพิสูจน์เซโนแห่งเอเลีย ดังนี้


"บทพิสูจน์เรื่องสิ่งคั่นกลาง สมมติว่า มีความเป็นจริงอยู่แค่สองสิ่งและแยกเป็นอิสระแก่กัน แต่การที่สิ่งสองสิ่งไม่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะมีสิ่งอื่นมาคั่นกลาง สิ่งคั่นกลางนั้น ย่อมไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับสิ่งทั้งสองที่มีอยู่แต่แรก ดังนั้นสิ่งคั่นกลางนั้นจึงมีค่าเท่ากับความเป็นจริงหน่วยที่สาม และในลักษณะเดียวกันในรูปแบบลำดับเดิม ถ้ามีสิ่งมาคั่นกลางในระหว่างสิ่งที่สามกับสิ่งที่สี่ หรือสิ่งที่สี่กับสิ่งที่ห้า คือยิ่งมีสิ่งมาคั่นกลางมากขึ้นเท่าไร เราก็จะได้ความจริงมากขึ้นเท่านั้นและเพิ่มไปเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จบ "

พรมแดน เปรียบเสมือน สิ่งคั่นกลาง ที่แต่ก่อนพรมแดนอาจมิใช่การปักปันอาณาบริเวณ ทุกคนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ แต่เมื่อคำว่าพรมแดนเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในแง่ของเจ้าของรัฐ สิ่งคั่นกลางระหว่างสองสิ่งนี้จะแยกเป็นอิสระต่อกัน ไม่รวมเป็นหนึ่งเดียว ดังเช่น เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้  เพียงเสียวนาทีเดียว เมื่อผู้นำประเทศหรือผู้มีอำนาจต้องการแบ่งแยก จากที่เคยเป็นหนึ่งเดียวกันกลับต้องแยกจากกัน...





ที่มาบทความ :
https://www.philosophybasics.com/philosophers_zeno_elea.html

https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/western_philosophy/10.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น