หน้าเว็บ

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

The Great Wave Off KANAGAWA






       คลื่นมหึมานอกชายฝั่งคะนะงะวะ (Kanagawaoki Namiura ) หรือ The Great Wave off  Kanagawa   เป็นภาพพิมพ์แกะไม้และเป็นภาพสี  ผลงานดังกล่าวถูกรังสรรค์ขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 19 ในสมัยเอโดะโดย  Katsushika  Hokusai  ศิลปินอุคิโยเอะชาวญี่ปุ่น ภาพศิลปะชิ้นเอกนี้มีขนาดเพียง  26*38 เซนติเมตร  ตำแหน่งของภาพที่อยู่ใกล้สายตาที่สุดคือ ทะเลที่กำลังปั่นป่วนด้วยคลื่นลมแรงจัด คลื่นขนาดมหึมาดูราวกับกำลังจะถาโถมใส่กินเนื้อที่เกือบครึ่งทางด้านซ้ายภาพ   เรือราวที่อาจจุคนได้มากที่สุดไม่เกิน 10 คนถูกซัดขึ้นไปอยู่ท่ามกลางเกลียวคลื่นและมองเห็นฝีพายหลายคนค้อมตัวลงเพื่อพยายามประคองเรือไม่ให้เสียการทรงตัว  ตรงกลางรูปที่มองจากระยะไกลผ่านเเนวเกลียวคลื่นที่กำลังซัดกระหน่ำจะเห็น ภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นพระเอกของภาพ

* อุคิโยเอะในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพร่วมสมัยซึ่งมีจุดเด่นคือ เน้นคนและทิวทัศน์ในสมัยเอโดะเป็นหลัก


      Katsushika  Hokusai  เป็นหนึ่งในศิลปินอุคิโยเอะที่รังสรรค์ศิลปะร่วมสมัยนี้ เสน่ห์ของภาพคลื่นยักษ์มหึมานอกชายฝั่งคะนะงาวะนี้สามารถชมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียวและคอลเลคชั่นรวมผลงานศิลปะทั่วโลก


     คลื่นมหึมานอกชายฝั่งคะนะงะวะเป็นหนึ่งในบรรดาผลงานศิลปะของญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักและสร้างความพิศวงให้แก่โลกตะวันตกในอดีต  ซึ่งในอดีตกาลนั้นญี่ปุ่นกำหนดข้อจำกัดเข้มงวดทั้งในด้านการค้าและการเดินทางเข้า-ออกประเทศ  จากช่วงต้นศตวรรษที่ 17 และเพิ่งยุตินโยบายโดดเดี่ยวตัวเอง และเปิดประเทศเมื่อปี 1854  ผลจากนโยบายเปิดประเทศทำให้ผลงานศิลปะจากญี่ปุ่นหลั่งใหลออกสู่ยุโรปมากมาย โครงสร้างองค์ประกอบภาพและการวางตำแหน่งภาพที่เด่นที่สุดซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏในงานศิลปะตะวันตกมาก่อน กลับกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อบรรดาศิลปินแนวอินเทรสชั่นนิสต์และศิลปินอื่นๆตามมา


      สิ่งที่ Katsushika Hokusai ค้นพบคือ  ความเป็นสามมิติและความลึกในเชิงพื้นที่ ซึ่งไม่เคยปรากฏในศิลปะแบบญี่ปุ่น Hokusai เดินตามรอยศิลปินคนก่อนๆ ที่หาทางผนวกเอาเทคนิคต่างๆ ที่ได้มาจากศิลปะตะวันตกมาผสมผสานกัน  พยายามใช้แนว  Realism หรือ สัจนิยม  แบบที่พบในศิลปะตะวันตกมาใช้เน้นๆ  จนได้รังสรรค์ภาพศิลปะชิ้นเอกนี้ขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์


     เมื่อครั้งที่รังสรรค์ภาพคลื่นมหึมาคะนะงะวะ Hokusai อายุได้ 70 ปีเศษและได้ซึมซับแนวทางการสร้างสรรค์แบบศิลปะแนวตะวันตกเข้ามาไว้ในงานของตนเอง  ซึ่งองค์ประกอบที่โดเด่นของภาพที่มีภูเขาไฟฟูจิปรากฏให้เห็นลึกสุดสายตานั้น  เป็นการนำความรู้ที่ศึกษามาจากตะวันตกเรื่องการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้สีน้ำเงินที่ใช้ในภาพพิมพ์แกะไม้ คือ สีที่คนญี่ปุ่นในสมัยนั้นใช้เชื่อมโยงเข้ากับความเป็นตะวันตก  ซึ่งเป็นสีทางเคมีที่เยอรมณีคิดค้นได้เมื่อศตวรรษที่ 18 เป็นสีน้ำเงินสดใสยิ่งกว่าสีครามแบบธรรมชาติ  ในขณะเดียวกันภาพนี้ก็มีความโด่ดเด่นของตะวันออกผสมผสานอยู่ด้วยซึ่งนับเป็นความแปลกใหม่สำหรับผู้เสพงานศิลปะตะวันตกด้วย


      ภูเขาไฟฟูจิ  ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่สง่างามและสูงที่สุดในญี่ปุ่น  ผู้คนถือกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่โบราณกาล  ภาพคลื่นมหึมานอกชายฝั่งคะนะงะวะได้รับการรังสรรค์ขึ้นมาโดยคำนึงถึงความศรัทธาของผู้คนเหล่านี้  โดย Hokusai อาจมีความเชื่อในพลังทางจิตวิญญาณของภูเขาไฟฟูจิ  ทั้งนี้ในยุคสมัยนั้นเป็นยุคที่ญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วนจึงเป็นสาเหตุให้ผู้คนมีความกระวนกระวายใจ  จึงพากันไปปลดเรื่องทุกข์ร้อนที่ภูเขาไฟฟูจิ  


      หลายปีก่อนที่ Hokusai จะรังสรรค์ภาพคลื่นมหึมานอกชายฝั่งคะนะงะวะ รัฐบาลโชกุนออกคำสั่งให้ขับไล่เรือต่างชาติทันทีที่พบเห็น  บางทีผู้คนอาจเริ่มตระหนักว่าช่วงเวลาของการอยู่อย่างโดดเดี่ยวเกือบสองร้อยปีมานี้อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นตลอดไป  แม้แต่ Hokusai เอง ซึ่งได้รับคำสั่งซื้อภาพจากบรรดาพ่อค้าชาวดัดซ์ก็อาจรู้สึกตื่นตัวในยุคสมัยที่กำลังจะเปลี่ยนไป  องค์ประกอบของภาพคลื่นมหึมานอกชายฝั่งคะนะงะวะอาจผนวกเอาความวิตกกังวลในใจของผู้คนก่อนผันผ่านไปสู่ยุคใหม่  


     ภายหลังการเสียชีวิตของ Katsushika Hokusai ญี่ปุ่นเปิดเมืองท่าให้สหรัฐอเมริกา  อังกฤษและรัสเซีย หลังจากนั้นไม่นานได้กลายเป็นชนวนในการนำไปสู่ยุคเฟื่องฟูศิลปะแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า "Japaneseism" 








ที่มา :   https://www.nhk.or.jp/japan-art/th/archives/150122/

บทความ :  Dek-South East

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น