หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ติมอร์-เลสเตกับการสร้างชาติ


 ที่มาภาพ :  https://th.wikipedia.org/wiki/

       เกาะติมอร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตามสนธิสัญญาลิสบอน  โดยติมอร์ตะวันออกปกครองโดยโปรตุเกส และติมอร์ตะวันตกปกครองโดยออลันดา  ในปี 1974 ติมอร์ตะวันออกเกิดการรัฐประหารและมีผู้นำคนใหม่  ซึ่งผู้นำคนใหม่มีข้อเสนอ 3 ข้อให้แก่ชาวติมอร์ตะวันออกว่า   
1.เป็นดินแดนที่ปกครองโดยโปรตุเกส
2.เป็นประเทศเอกราช
3.รวมเป็นหนึ่งกับอินโดนีเซีย

       ซึ่งข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ  ได้ก่อให้เกิดพรรคการเมืองขึ้น   เหตุการณ์รัฐประหารการเปลี่ยนแปลงการปกครองของโปรตุเกส ทำให้อินโดนีเซียเกิดความกังวลใจและอยากครอบครองติมอร์ตะวันออก จึงเริ่มเข้าแทรกแซงกิจการภายในของติมอร์ตะวันออก  เมื่อรัฐบาลโปรตุเกสให้อิสรภาพ พรรคเฟรติลิน จึงตัดสินใจประกาศเอกราชโดยจัดตั้งสาธารณะรัฐประชาธิปไตยติมอร์ตะวันออกในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1975  อินโดนีเซียได้กล่าวหาว่าการกระทำดังกล่าวเป็นพวกฝ่ายคอมมิวนิสต์ จึงได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองและสังหารประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นจำนวนมาก สุดท้ายได้ผนวกติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นจังหวัดหนึ่งของอินโดนีเซียโดยไม่สนใจคำประณามของประชาคมโลกและอ้างว่าเป็นนโยบายบูรณาการแผ่นดินของนายซูฮาร์โตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย 

     การใช้ทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ในติมอร์ตะวันออกรวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอินโดนีเซียทำให้ชาวติมอร์ตะวันออกลุกขึ้นมาต่อต้านเพื่อเรียกร้องเอกราช  เมื่อนายซูฮาร์โตลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี  นายบี เจ อาบิบี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน  โดยอินโดนีเซียจะให้อิสระภาพกับประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก ซึ่งนำไปสู่การออกเสียงลงประชามติ  พบว่า 78.5% ออกเสียงแยกตัวเป็นเอกราช  กลุ่ม Militia  ที่สนับสนุนการรวมตัวกับอินโดนีเซียเกิดความไม่พอใจจึงได้ก่อความรุนแรงขึ้นที่เมืองดิลี โดยการเข่นฆ่า ทำร้ายและเผาบ้านเรือนหลายหลัง  เหตุการ์ดังกล่าวทำให้สหรัฐอเมริกางดให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่อินโดนีเซีย  ทำให้อินโดนีเซียต้องยอมรับผลลงประชามติอย่างจำนน  ติมอร์ตะวันออกหรือติมอร์เลสเต ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2002  


ชาวติมอร์ตะวันออกยืนชูเอกสารลงทะเบียนระหว่างรอการลงประชามติ
อย่างคับคั่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 1999
ที่มาภาพ :  https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_1989


      ปัญหาทางสังคมที่ตามมาหลังจากได้รับเอกราช  คือ ปัญหาประชากรพลัดถิ่นจากวิกฤติความรุนแรงหลังการลงประชามติ  ปัญหาุขภาพอนามัย ขาดแคลนอาหาร เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านการศึกษา ขาดผู้เชียวชาญ นักเรียนเรียนซ้ำมีอัตราสูง  พลเมื่องมีอัตราการเกิดสูง  ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น



บทความ :  Dek-South East


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น