หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

โรฮิงญา ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง



รัฐยะไข่ในพม่า
ที่มาภาพ : https://www.the101.world/thoughts/rohingya-crisis-through-historical-perspective/


คำว่า โรฮิงญา เป็นคำที่ชาวมุสลิมในรัฐยะไข่นำมาใช้เพื่อแทนอัตลักษณ์ของตนเอง

       ในปี 1948 หลังพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ชาวโรฮิงญาจะถูกรับรองในความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในสมัยรัฐบาลอูนุ และมีการตั้งเขตปกครองพิเศษ แต่ภายหลังการยึดอำนาจของนายพลเนวินเมื่อปี 1962 จึงได้นำระบบสังคมนิยมแบบพม่ามาใช้และปลุกกระเเสชาตินิยมพม่าพุทธ  ชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นมุสลิมจึงไม่ได้รับสิทธิในการเป็นพลเมืองพม่าตามกฎหมายสัญชาติ  ทำให้สถานะของชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่กลายเป็นผู้อพยพที่ไม่มีสิทธิใดๆ รอเพียงการผลักดันให้ออกนอกประเทศ



ชาวกะมาน กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในยะไข่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
 แต่ได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งใน 135 กลุ่มชาติพันธุ์ของพม่า
ที่มาภาพ : https://www.the101.world/thoughts/rohingya-crisis-through-historical-perspective/

     ปัญหาวิกฤตโรฮิงญาในพม่าจึงมีสาเหตุมาจากการไม่ถูกยอมรับในสังคมพม่า อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงญากับชาวพม่าและปัญหาอคติทางศาสนาที่ซับซ้อน  ดังนั้นปัญหาชาวโรฮิงญาจึงเป็นปัญหาที่ประกอบสร้างขึ้นจากการสร้างรัฐชาติใหม่ในพม่า  มีการกีดกันคนที่ไม่มีความละม้ายคล้ายชาวพม่าออกไป ทั้งนี้เมื่อกระแสความเกลียดชังศาสาอิสลามเกิดขึ้น ทำให้ชาวพุทธในพม่าเริ่มต่อต้านชาวมุสลิมและนำวาทกรรมที่ว่าชาวมุสลิมคือผู้รุกรานและจ้องจะทำร้ายศาสนาพุทธมาใช้เป็นข้ออ้างในการขับไล่ชาวโรฮิงญา



ที่มา : https://www.the101.world/thoughts/rohingya-crisis-through-historical-perspective/
บทความ : Dek-South East


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น