หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

DARK INSIDE มุมมืดในสังคมญี่ปุ่น


ที่มาภาพ : http://www.acu.ac.th/html_edu/cgi-bin/acu/main_php/print_informed.php?id_count_inform=11779

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทางการทูต รวมถึงการมีสถานภาพทางการเมืองและปัญหาใหม่ๆทั้งภายในและภายนอก ซึ่งผลกระทบดังกล่าวมีส่วนทำให้ชาวญี่ปุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความเชื่อและค่านิยมที่ต่างไปจากเดิม  ประชาชนเริ่มแสวงหาเป้าหมายใหม่โดยเฉพาะคุณภาพชีวิต การศึกษา การเรียกร้องความไม่เท่าเทียม การเมืองและปัญหาทางสังคมอื่นๆ อย่างไรก็ตามปัญหารุมเร้ามากมายในญี่ปุ่นถือเป็นจุดเปลี่ยนแนวคิดสำคัญ
ที่มาภาพ : http://j-channel.jp/th/c-news/c-japan/44473/?utm_source=dlvr.it&utm_medium=twitter

การเปลี่ยนแปลงความคิดและค่านิยมทางสังคมญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่น มีการปฏิรูปกฎหมายต่างๆเพื่อให้หญิงและชายมีสิทธิเสมอภาคกันจากแต่ก่อนที่ผู้ชายมักเป็นใหญ่ทำให้บทบาทผู้ชายที่เคยเข้มแข็งเปลี่ยนแปลงไป คือลักษณะครอบครัวได้มีการเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมจากครอบครัวขนาดใหญ่ในสังคมเกษตรกรรมมาเป็นครอบครัวเล็กๆในสังคมอุตสาหกรรม การเข้ามาทำงานในบริษัทและได้รับเงินเดือนมากขึ้นหรือที่เรารู้จักกันว่า Salary man
ที่มาภาพ : http://jpninfo.com/24921

ผู้เป็นสามีหรือพ่อบ้านมักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ทำงาน ส่วนผู้เป็นภรรยาหรือแม่บ้านจะต้องดูแลเรื่องการศึกษาของลูกและคบหาสมาคมกับเพื่อนบ้าน สามีจะเป็นผู้มอบเงินเดือนทั้งหมดให้ภรรยา อำนาจการจับจ่ายใช้สอยจะตกอยู่ในมือของภรรยาดังนั้นสถานภาพของสามีจึงตกต่ำ ตรงกันข้ามกับแต่ก่อนที่ครอบครัวชาวญี่ปุ่นจะอยู่ในความดูแลของพ่อบ้านทุกอย่าง ระบบครอบครัวที่แสนเข้มงวดเริ่มหย่อนยานลง เช่น ลูกชายคนโตจะต้องสืบทอดอาชีพครอบครัว ผู้เป็นพ่อจะมีอำนาจสูงสุดแต่ต่อมาผู้คนเริ่มเป็นอิสระจากระบบเข้มงวด ซึ่งค่านิยมในเรื่องความอดกลั้นของชาวญี่ปุ่นเริ่มแสดงออกมาในรูปแบบของความพยายาม ขยันขันแข็งและเอาจริงเอาจัง พร้อมที่จะยืนหยัดด้วยตัวเอง ทั้งนี้ก็ได้รับเอาวัฒนธรรมการดำรงชีวิตแบบตะวันตกเข้า ประชาชนเริ่มเข้าไปอาศัยอยู่ในอาพาร์ตเม้นต์มากขึ้น เกิดทัศนคติใหม่เกี่ยวกับชีวิตครอบครัว เช่น พยายามทำให้ครอบครัวมีความสุขและสนุกสนานไม่รู้สึกกดดันซึ่งเป็นทัศนคติที่รับมาจากตะวันตกนั่นเอง
ที่มาภาพ : https://www.alamy.com/stock-photo-mother-and-son-sitting-around-japanese-hot-pot-36664126.html

ค่านิยมเรื่องการแต่งงาน แม้ญี่ปุ่นจะรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแล้วแต่ผู้หญิงญี่ปุ่นก็ยังคงถูกมองว่าจะต้องเป็นภรรยาและแม่เท่านั้น ผู้หญิงจะต้องแต่งงานโดยไม่มีทางเลือก โครงสร้างของสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่ผู้ชายหรือพ่อจะต้องอุทิศตัวให้กับบริษัทหรือสถานที่ทำงานที่ตนสังกัดอยู่จนแทบไม่มีเวลาอยู่บ้าน  นั่นทำให้สามีไม่ให้ความสนใจภรรยาเท่าที่ควรเพราะหมกหม่นอยู่กับงาน ภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้านมิได้ประกอบอาชีพอื่น มีหน้าที่ดูแลบ้านและลูก จึงหันมาทุ่มเทความรักความเอาใจใส่กับลูกกลายเป็นครอบครัวแม่ลูก เกิดความคิดเกี่ยวกับสิทธิได้รับการศึกษาโดยเท่าเทียมกัน ทำให้ผู้หญิงเกิดสงสัยว่าเมื่อตนเรียนจบขั้นมหาวิทยาลัยเท่าผู้ชาย แต่ทำไมต้องทำงานบ้านเพียงอย่างเดียว รวมถึงแนวคิดการที่ญี่ปุ่นเปลี่ยนไปสู่สังคมอุตสาหกรรมก็เพราะรู้สึกว่าสังคมเกษตรกรรมนั้นล้าหลังกว่า ความรู้สึกล้าหลังนี้มีทั้งความรู้สึกอึดอัดใจ อายและความอยากจะเริ่มต้นใหม่

ปัญหาสำคัญในสังคมญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น

ที่มาภาพ : https://mgronline.com/japan/detail/9600000041654

ปัญหาเยาวชนฆ่าตัวตาย
ประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นที่รู้กันว่าเหตุการณ์กลั่นแกล้งกันในโรงเรียนนั้นเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมแห่งความกลมกลืน ทุกคนต้องปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน ไม่มีแหกกฎเพราะฉะนั้นเด็กๆจะได้รับการปลูกฝังจากครอบครัวและโรงเรียนด้วยกฎกติกาที่เคร่งครัดเพื่อให้ออกไปอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยระเบียบวินัยได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความเครียดสูงแล้วยังทำให้เกิดการกลั่นแกล้งกันในหมู่เด็กเพราะการไม่ยอมรับในความแตกต่างของเพื่อน และความเครียดจากการถูกปลูกฝังให้อยู่ในกฎระเบียบนี้เองทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงกับเพื่อน นอกจากนี้สภาพสังคมที่ยากจะยอมรับในความแตกต่างต้องอยู่ด้วยกันอย่างสงวนท่าที สงวนความรู้สึก ทำให้วัยรุ่นเกิดความเก็บกดไม่สามารถแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม และขาดการแลกเปลี่ยนสื่อสารความรู้สึกกับคนรอบตัว เมื่อรวมกับความที่เด็กถูกคาดหวังให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพสูง ต้องทำงานในองค์กรใหญ่ที่มีระเบียบวิธีการหางานที่เคร่งคัด ยิ่งทำให้เยาวชนญี่ปุ่นแบกรับแรงกดดัน
ที่มาภาพ : https://chandigarhmetro.com/haryana-girl-not-topper-class-commit-suicide-shot-herself-father-revolver/

เกิดเป็นภาวะซึมเศร้าจนหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตายอาจจะฆ่าด้วยการผูกคอและกระโดดตามรางรถไฟตามที่เราเห็นข่าวอยู่เรื่อยๆ แต่ความเครียดไม่ได้เกิดขึ้นกับเยาวชนญี่ปุ่นเท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นกับบุคคลวัยทำงานหรือที่เราเรียกกันว่า Salary man ซึ่งจะทำงานหนักแบบถวายหัวให้บริษัท ชาวญี่ปุ่นถือว่านี่มันเป็นสิ่งที่กระทำกันมาตั้งแต่ช่วงเศรษฐกิจบูมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พอประเทศปรับเปลี่ยนเป็นยุคสมัยใหม่ก็ราวกับว่าตัดสินค่าของคนด้วยผลงาน ผลตอบแทนยิ่งหนักตามไปด้วยคนก็ยิ่งแข่งกันขยันทำงานแบบลืมตาย แต่ถึงแม้งานจะหนักแค่ไหนคนก็ต้องทำงานกันต่อไปเพราะดีกว่าไม่มีงานทำ ญี่ปุ่นถือว่าคนต้องทำงานถ้าไม่ทำงานถือว่าเป็นคนไร้ค่า กลายเป็นค่านิยมทำงานหนักไปวันๆแทน ซึ่งบริษัทหลายต่อหลายแห่งก็หาประโยชน์จากตรงนี้ ใช้เป็นข้อต่อรองให้พนักงานทำงานหนักราวกับทาส แล้วยังเต็มไปด้วยเงื่อนไขต่างๆ หรือการกดขี่ คนที่เข้าไปทำงานแล้วจากคนดีๆ ดูมีอนาคตสดใสกลายเป็นคนมองโรคในแง่ร้าย เป็นโรคซึมเศร้า สุดท้ายทำงานไม่ไหวจึงนำมาซึ่งการตัดสินใจฆ่าตัวตาย
ที่มาภาพ : https://www.catdumb.com/heaven-prison-for-oldwm-415/

การก่ออาชญากรรมในสังคมคนชร คนชราหลายคนเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ความที่ไม่มีลูกหลานดูแล คนชราในญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งต้องอาศัยอยู่ตามลำพัง รวมถึงเสียชีวิตตามลำพังด้วย แต่สำหรับคนชราที่มีความคิดอยากใช้ชีวิตอย่างยาวนานและมีความสุขก็มีมากเช่นกัน แต่สิ่งที่พวกเขาคิดคือการก่ออาชญากรรม เงื่อนงำการก่อเหตุล้วนเป็นผลมาจากการที่คนรุ่นใหม่เริ่มทอดทิ้งคนชรามากขึ้น เช่น ลูกหลานนำผู้สูงอายุไปฝากไว้ตามสถานพยาบาลหรือองค์กรการกุศลแล้วก็หายตัวไปไม่กลับมาดูแลอีก ส่วนต่อมาคือลูกหลานไม่สามารถรับภาระเลี้ยงดูคนชราได้เพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลนั้นสูงมาก ความน่าเจ็บปวดอีกข้อก็คือ คนชราในญี่ปุ่นบางรายเริ่มตัดสินใจก่ออาชญากรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ขโมยของ เพื่อให้ตนเองเข้าไปอยู่ในคุกเพราะอย่างน้อยสภาพในคุกก็ยังดีกว่าการอาศัยอยู่ตามลำพังภายนอก เช่น ยังมีผู้คุมคอยดูแล จัดหาอาหารและแต่งตัวให้ มีเพื่อนนักโทษคนอื่น ๆ ให้พูดคุย ส่วนคนชราหลายคนเมื่อพ้นโทษก็จะมีลูกหลานมารับไปดูแล แต่ในบางกรณี ก็พบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดูแลคนชราที่สูงมาก ได้ทำให้คนชราเลือกที่จะก่ออาชญากรรมเพื่อกลับเข้าคุกมาอีก  การทำเช่นนั้นอาจทำให้คนชราเลือกที่จะก่ออาชญากรรมกันมากขึ้น เพื่อให้ตนเองมีที่พักพิงในยามชราซึ่งไม่เป็นภาระลูกหลาน

ที่มาภาพ : https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_135613

การกีดกันบุคคลเพศทางเลือกออกจากสังคม สังคมญี่ปุ่นปิดกั้นเรื่องเพศที่สาม ในอดีตสังคมผู้ชายเป็นใหญ่มาก่อน ญี่ปุ่นมีการแบ่งชัดเจนว่าอะไรที่ผู้ชายทำได้ อะไรที่ผู้หญิงห้ามทำ เป็นการวางผู้ชายไว้สูงกว่าผู้หญิง การที่ผู้ชายจะไปเป็นหญิงนั้นจึงเป็นเรื่องที่ถูกมองแบบเป็นอคติมาตลอดประกอบกับสังคมโรงเรียน สังคมที่ทำงาน การกลั่นแกล้งเกิดขึ้นมากมายและง่ายมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคนส่วนใหญ่รู้ว่า "เป็น" บุคคลนั้นจะตกเป็นเป้าทันทีและกลายเป็นปมด้อยไปทั้งชีวิตเลย และสำหรับคนที่แต่งหญิงออกนอกบ้าน ถ้าไม่ใช่คอสเพลย์ก็จะโดนสายตาสังคมทิ่มแทงจนเจ็บปวด เป็นค่านิยมที่สังคมญี่ปุ่นเป็นคนกำหนดมาแต่ไหนแต่ไร ดังนั้นการพยายามลดอคติต่อบุคคลเพศทางเลือกจึงเป็นเรื่องยาก
ที่มาภาพ : http://thitapa-siri.blogspot.com/2015/09/1.html

ปัญหาการก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดคนจำพวกฮิริโคโมริ หรือคนที่ปิดตัวเอง ขังตัวเอง หนีจากสังคม คนประเภทนี้จะเอาแต่กักขังตัวเองอยู่ในห้องของตน ตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกภายนอก จะเก็บตัวอยู่ในโลกของตัวเองไม่ออกไปสุงสิงกับใคร โดยที่สาเหตุอาจมาจากการไม่สามารถทำตามความต้องการของสังคมได้ จึงปฎิเสธที่จะออกมาใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม แต่เมื่อมีอินเทอร์เน็ต ความจำเป็นที่จะออกนอกบ้านยิ่งไม่มีเพราะแค่มีอินเทอร์เน็ตเครื่องเดียวก็สามารถติดต่อกับคนอื่นทางอีเมลหรือเข้าไปสนทนากับคนอื่นโดยใช้ชื่อปลอมได้ หลังจากนั้นอาจมีการนัดแนะกันเพื่อออกไปพบเจอกันบ้างซึ่งโยงใยไปสู่คดีการทำร้ายร่างกายหรืออาชญากรรมในที่สุด
ที่มาภาพ : https://www.catdumb.com/senji-nakajima-093/

นอกจากนี้ยังมีปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นในสังคมญี่ปุ่นมากมาย เช่น อัตราการเกิดต่ำ อาจมีหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การอยู่เป็นโสดมากขึ้น การแต่งงานที่ช้าลง การแต่งงานแต่ไม่มีลูกทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หรือความต้องการมีลูกที่น้อยลงของคู่สมรส ด้วยมักเห็นว่าการแต่งงาน และการมีลูกเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายที่คู่สมรสต้องใช้ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ การคลอด ในการเลี้ยงดูเด็กซึ่งจะสูงมาก นอกจากนี้ด้วยค่านิยมที่เปลี่ยนไปท่ามกลางสังคมสมัยใหม่หันมานิยมการใช้ชีวิตคนเดียว โดยเฉพาะผู้ชายเช่น ข่าวความสัมพันธ์ในการใช้ชีวิตกับตุ๊กตายางแทน กลายเป็นสิ่งสะท้อนถึงความเดียวดายของชายชาวญี่ปุ่นที่เเม้อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย เเต่ก็ยังรู้สึกอ้างว้างจนต้องหันหน้าไปสร้างความสัมพันธ์ทั้งทางกายและจิตใจ กับสิ่งไร้ชีวิต....




ที่มาบทความ :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น