หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Peristiwa 13 Mei



ที่มาภาพ : http://warkahpaktua.blogspot.com/2013/05/13-mei-1969-sejarah-hitam-malaysia.html


Peristiwa 13 Mei หรือ ความขัดแย้งระหว่างชาวมลายูกับจีน


      13 พฤษภาคม 1969 เกิดจากการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งคะเเนเสียงของพรรคฝ่ายค้านที่คนจีนสนับสนุนมีเพิ่มมากกว่าชาวมาเลเซีย ทำให้ชาวจีนจำนวนมากออกมาเดินขบวนเพื่อเเสดงความดีใจตามท้องถนนในเมืองใหญ่ การเเสดงออกของคนจีนเป็นไปอย่างคึกคะนองและกล่าววาจาเยาะเย้ยชาวมาเลเซีย การกระทำดังกล่าวสร้างความไม่พอใจแก่ชาวมาเลเซีย

ที่มาภาพ : https://lepetitjournal.com/kuala-lumpur/actualites/labordage-de-
lhistoire-que-sest-il-passe-le-13-mai-1969-87401

ที่มาภาพ : https://www.menara.my/mati-melayu-sakai
-masuk-hutan-membedah-laporan-tragedi-13-mei-1969/


     จากความคึกคะนองของคนจีนทำให้สมาชิกพรรค UMNO รวมตัวออกมาประท้วงจนเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นและได้บานปลายไปตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ  และมีผู้เสียชีวิตหลายคน  จน ตนกู อับดุล ราห์มาน ลาออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการใช้  นโยบายภูมิบุตร  ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล ตนกู อับดุล ราห์มาน พื่อสนับสนุนชาวมาเลเซียให้ได้สิทธิพิเศษต่างๆ เหนือคนจีน  แนวคิดนี้เริ่มทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ของมลายูเป็นใหญ่และมีอำนาจเหนือชาติพันธุ์อื่น

ที่มาภาพ : http://peristiwa13meipengajianmalaysia.blogspot.com/2015/10
/pengajaran-peristiwa-13-mei-1969.html



     ซึ่งนโยบายนี้เป็นการลดความยากจนและปรับโครงสร้างทางสังคมให้ชาวมาเลเซียมีบทบาทเท่าเทียมคนจีน  จากที่แต่ก่อนชาวมาเลเซียตกเป็นบุคคลชั้นสองรองจากชาวจีนในสมัยอาณานิคมอังกฤษ เมื่อ ตนกู อับดุล ราซัค เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน  จึงได้ประกาศ  นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (NEP) เพื่อลดความยากจนของทุกชาติพันธุ์และปรับโครงสร้างทางสังคมโดยใช้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อลดช่องว่างระหว่างสองเชื้อชาติ







ที่มา : 
https://www.matichonweekly.com/scoop/article_9840
https://prachatai.com/journal/2014/05/53364

บทความ  :  Dek-South East


วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เกสตาปู G30S ฆ่าล้างคอมมิวนิสต์



ที่มาภาพ : http://program.thaipbs.or.th/Artclub/episodes/35826#&gid=1&pid=2


       30 กันยายน 1965  เหตุการณ์เกสตาปู หรือ G30S  เป็นเหตุการณ์รัฐประหารที่ล้มเหลว  โดยการกระทำดังกล่าวเกิดจากความพยายามของพรรคคอมมิวนิสต์(PKI) ในการโค่นล้มรัฐบาลสายกลางของซูการ์โนบิดาแห่งเอกราชของอินโดนีเซีย  ซึ่งเหตุการณ์ได้เริ่มต้นด้วยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์(PKI) ได้ลักพาตัวนายทหารระดับสูง 7 คนไปกักขังและสังหารทิ้งทั้งหมด ตามมาด้วยการตั้งสภาปฏิวัติประชาชนและเริ่มเข้ายึดสถานที่สำคัญๆ ภายใต้การนำของนายซูฮาร์โตได้เข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้  โดยระบุว่าพรรคคอมมิวนิสต์(PKI) เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อกบฏนี้



ประธานาธิบดีซูฮาร์โต (ขวา) ขณะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
ที่มาภาพ : https://prachatai.com/journal/2012/08/41897


       เมื่อซูฮาร์โตทำรัฐประหารซ้อนได้สำเร็จภายใต้นโยบายระเบียบใหม่ และได้ดำเนินการปราบปรามสมาชิคพรรคคอมมิวนิสต์(PKI) ทั่วประเทศ ก่อนจะกดดันนายซูการ์โนลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีด้วยข้อกล่าวหาว่า   มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับคอมมิวนิสต์   ซึ่งอินโดนีเซียมองว่าคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคามต่อรัฐ  การปราบปรามคอมมิวนิสต์ของซูฮาร์โตถือเป็นอาชญากรรมที่กระทำโดยรัฐครั้งใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย  เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตเกือบ 2 ล้านคน รวมทั้งมีผู้ถูกจับกุมโดยไร้ข้อกล่าวหาอีกจำนวนมาก  ประชาชนอีกขั้วหนึ่งกลายเป็นผู้ลงมือฆ่าคอมมิวนิสต์ ด้วยความชอบธรรมตามกลไกของรัฐผ่านโฆษณาชวนเชื่อทรงประสิทธิภาพ  


ที่มาภาพ : https://blogazine.pub/blogs/onanong/post/3639

       การที่ชาวอินโดนีเซียเลือกที่จะเงียบหรือเลี่ยงที่จะพูดต่อเรื่องทีี่เกิดขึ้นถือเป็นเกราะป้องกันตนเองจากข้อกล่าวหา  ในสภาวะบีบบังคับเช่นนี้ทำให้รัฐบาลซูฮาร์โตสถาปนา ความจริงชุดใหม่  ผ่านแบบเรียน พิพิธภัณฑ์ อนุสาวรีย์และภาพยนตร์ได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังสร้างความบอบช้ำทางจิตใจให้กับผู้ถูกกระทำและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาจนถึงปัจจุบัน


ดูวิดีโอเพิ่มเติม-> 




ที่มา :
https://th.wikipedia.org/wiki/เกสตาปู
https://blogazine.pub/blogs/onanong/post/4380
https://www.matichonweekly.com/column/article_96830
https://www.youtube.com/watch?v=RwbS9PoX_u8&feature=youtu.be

บทความ : Dek South East

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ขบวนการเเบ่งแยกดินแดนอาเจะห์หรือ GAM






ที่มาภาพ : https://prachatai.com/journal/2014/08/55091

       ความขัดแย้งระหว่างขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชอาเจะห์หรือ GAM กับรัฐบาลอินโนีเซียที่ยืดเยื้อมานาน   มีสาเหตุมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และการดำเนินนโยบายทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐบาลกลาง ในอดีตอาเจาะห์เคยเป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม มีสุลต่านปกครองโดยอิสระ  

       จนต่อมาได้ตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดา แต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง   ฮอลันดาได้ประกาศยกดินแดนอาเจะห์ให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย  ซึ่งชาวอาเจะห์มองว่าเป็นการส่งต่อไปสู่เจ้าอาณานิคมหนึ่งโดยไม่ถามความสมัครใจของคนในพื้นที่ ประกอบกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอาเจะห์ซึ่งแตกต่างจากชาวชวาที่มีจำนวนมากที่สุดในอินโดนีเซีย  อีกทั้งปัญหาของชาวอาเจะห์ที่ต้องการปกครองโดยใช้กฎหมายชีอะห์ซึ่งเป็นกฏหมายที่เคร่งครัดของชาวอิสลาม  เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา


การเฆี่ยนประจานตามกฎหมายชีอะห์
ที่มาภาพ : https://pantip.com/topic/34349728


       ขณะเดียวกันนโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจก็เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง โดยการค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอาเจะห์ ทำให้บริษัทน้ำมันของต่างชาติและชาวชวาได้สัมปทาน แต่ส่วนแบ่งรายได้กลับไม่ถึงมือคนท้องถิ่น นำไปสู่ ขบวนการปลดปล่อยอาเจะห์หรือ GAM ที่ประกาศต่อสู้เพื่ออิสระภาพจากรัฐบาลอินโดนีเซีย ในวันที่ 4 ธันวาคม 1976 การต่อสู้ของกลุ่ม GAM ในระยะเเรกยังอยู่ในวงจำกัด 


ที่มาภาพ : https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/21415
.
ที่มาภาพ :  https://ache-pko.blogspot.com/2014/12/blog-post.html

       จนกระทั่งประธานาธิบดีซูฮาร์โต ผู้นำเผด็จการยึดอำนาจและประกาศให้อาเจะห์เป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางทหาร  ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งการทรมาน อุ้มฆ่า ข่มขืน จนมีผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายเป็นจำนวนมาก ชาวอาเจะห์จึงเข้าร่วมกับกลุ่ม GAM มากขึ้น จุดเปลี่ยนสำคัญในการสร้างสันติภาพอาเจะห์เกิดขึ้นหลังการโค่นล้มซูฮาร์โต ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม นักศึกษา องค์กรทางการเมืองต่างๆ และสื่อ ที่ร่วมกันเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการเจรจาสันติภาพ  ทำให้อาเจะห์เป็นเขตปกครองพิเศษมาจนถึงปัจจุบัน


รูปคนสูญหายที่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน
ที่มาภาพ : https://blogazine.pub/blogs/onanong/post/4006






ที่มา : 
https://blogazine.pub/blogs/onanong/post/4006
https://prachatai.com/journal/2005/07/4962
https://news.thaipbs.or.th/content/156983

บทความ: Dek-South East

การเถลิงอำนาจของเฟอร์ดินานด์ อี. มาร์กอส


เฟอร์ดินานด์ อี.มาร์กอส
ที่มาภาพ : http://perspective.usherbrooke.ca/bilan/servlet/BMEve?codeEve=85
      
      หลังจากฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชจากสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1946 ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่สหรัฐอเมริกาวางรากฐานเอาไว้ถูกครอบงำโดยกลุ่มคนร่ำรวยและเจ้าของที่ดิน ซึ่งได้ใช้อำนาจผูกขาดผลประโยชน์อย่างเป็นระบบ ทั้งยังเอื้อประโยชน์แก่ญาติมิตรและพวกพ้อง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้จึงเป็นปัจจัยที่บั่นทอนโครงสร้างทางการเมืองของฟิลิปปินส์ ปัญหาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูง ประชาชนขาดที่ดินทำกิน ความยากจน ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ได้สร้างความเบื่อหน่ายและคววามไม่พอใจแก่ประชาชนเป็นเวลานาน


ที่มาภาพ : https://iandme2012.wordpress.com/2013/11/09/

     จนกระทั่งปี 1965 เฟอร์ดินานด์ อี.มาร์กอส ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ภายใต้การสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา  โดยอเมริกาต้องการอาศัยฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการคงไว้ซึ่งอิทธิพลของอเมริกาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์  อเมริกาได้ตั้งฐานทัพสองแห่งในฟิลิปปินส์ ในขณะเดียวกันการเข้ามาของเมริกาก็ได้สร้างประโยชน์ให้มาร์กอสเช่นกัน คือ การเก็บค่าเช่าเรือจากอเมริกาในราคาสูง   การเปิดโอกาสให้ชาวฟิลิปปินส์เข้าไปทำงานในฐานทัพและสนับสนุนอเมริกาในด้านต่างๆ ซึ่งฟิลิปปินส์จะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นสิ่งตอบแทน  ในสมัยแรกของมาร์กอสสามารถใช้หนี้ต่างปรเทศได้เกือบหมด ทั้งเป้าหมายในการพัฒนายุทธศาสตร์ EOI ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ  ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศดีขึ้น  มาร์กอสพยายามส่งเสริมการส่งออกเป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย EOI โดยที่อเมริกาเป็นผู้กำหนดบทบาทอยู่เบื้องหลัง


ที่มาภาพ : https://iandme2012.wordpress.com/2013/11/09/

      ในปี 1969 มาร์กอสได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง  ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์ของชาวฟิลิปปินส์ที่มีประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งสองสมัย  ในสมัยนี้เกิดปัญหามากมาย อันเนื่องมาจากการที่มาร์กอสได้นำเงินสำรองระหว่างประเทศไปใช้ในการหาเสียงจนเป็นหนี้กองทุนระหว่างประเทศและถูกบังคับให้ลดค่าเงินเปโซ การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาการจ้างงาน ตลอดจนความขัดแย้งและความเคลื่อนไหวของกลุ่มภายในประเทศที่เกิดจากความไม่พอใจของประชาชน  ทำให้มาร์กอสประกาศใช้กฎอัยการศึกในปี 1972 โดยให้ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งอเมริกาก็สนับสนุนมาร์กอสเนื่องด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ   
     
      ฐานอำนาจที่สำคัญที่ส่งผลให้ประธานาธิบดีมาร์กอสสามารถอยู่ในอำนาจได้นานถึง 21 ปี ได้แก่ กลุ่มพวกพ้อง ซึ่งใช้อำนาจรัฐเป็นใบเบิกทางในการแสวงหาผลประโยชน์รวมถึงการเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในยุคกฎอัยการศึก  กลุ่่มเทคโนแครต ซึ่งเป็นเครื่องมือของมาร์กอสในการนำความน่าเชื่อถือจากต่างชาติมาสู่รัฐบาลมาร์กอส  กลุ่มหัวหน้าสภาบารังไก สัมพันธมิตรระดับท้องถิ่นที่ช่วยในการหาเสียงและสร้างความน่าเชื่อถือให้มาร์กอส กลุ่มธนาคารโลกและกองทุนระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือมาร์กอสโดยหวังว่าจะพัฒนาประเทศไปตามแนวทางยุทธศาสตร์ EOI และกลุ่มกองทัพทหาร ซึ่งให้ทหารเหล่านี้เข้าไปแทรกซึมในสังคมเพื่อเป็นหูเป็นตาให้แก่รัฐบาลและถือว่าเป็นฐานอำนาจที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่รัฐบาลมาร์กอส

      ทั้งนี้การล่มสลายของเฟอร์ดินาน อี.มาร์กอส เกิดจากปัจจัย 2 ประการ ดังนี้  ปัจจัยภายใน คือปัญหาเศรษฐกิจ การคอรัปชั่นและความยากจนที่มาร์กอสไม่สามารถแก้ไขได้ การนำเงินของรัฐจำนวนมหาศาลมาใช้ในการลงทุนในธุรกิจส่วนตัวและการอำนวยประโยชน์ให้แก่พวกพ้องมากกว่าการที่จะนำเงินไปพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง  การไม่รักษาคำพูดเรืองการปฏิรูปที่ดิน การซื้อเสียงและโกงการเลือกตั้ง การใช้ความรุนแรงจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก ปัญหาเหล่านี้นำไปสู่การรวมตัวของกลุ่มต่างๆหลายกลุ่ม ทั้งขบวนการนักศึกษา ชนชั้นกลาง ชาวนา นักธุรกิจ กลุ่มทหารและเจ้าหน้าที่ระดับล่าง รวมถึงศาสนจักรที่เห็นว่าอำนาจเผด็จการของมาร์กอสนำไปสู่ความรุนแรง และกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ได้ร่วมกับฝ่ายซ้ายคอมมิวนิสต์  เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือโค่นล้มประธานาธิบดีมาร์กอส

     ปัจจัยภายนอก จะเห็นได้ว่า สหรัฐอเมริกามีบทบาทต่อฟิลิปปินส์มาโดยตลอด จากการที่เคยสนับสนุนระบบมาร์กอสก็เริ่มถอนตัวออกจากการให้ความช่วยเหลือ เพราะอเมริกาไม่ได้ผลประโยชน์จากฟิลิปปินส์เท่าที่ควร ทั้งนโยบายยุทธศาสตร์ EOI แทนที่มาร์กอสจะออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติแต่กลับไปให้ความสำคัญกับการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มพวกพ้อง ระบบมาร์กอสที่เคยพึ่งพาอาศัยเงินกูและเงินลงทุนจากอเมริกา รวมถึงเงินกู้จากกองทุนระหว่างประเทศจึงเริ่มสั่นคลอนและถดถอย  เมื่อขาดเงินทุนและการสนับสนุน อำนาจของมาร์กอสก็ลดลง กระทั่งนำไปสู่การพังทลายและล่มสลายของระบบมาร์กอสในที่สุดเมื่อปี 1989  ตลอดระยะเวลาครองอำนาจ 21 ปี 



ที่มา :  http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1751/1/ศุภการ%20สิริไพศาล.pdf

บทความ : Dek-South East