หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การเถลิงอำนาจของเฟอร์ดินานด์ อี. มาร์กอส


เฟอร์ดินานด์ อี.มาร์กอส
ที่มาภาพ : http://perspective.usherbrooke.ca/bilan/servlet/BMEve?codeEve=85
      
      หลังจากฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชจากสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1946 ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่สหรัฐอเมริกาวางรากฐานเอาไว้ถูกครอบงำโดยกลุ่มคนร่ำรวยและเจ้าของที่ดิน ซึ่งได้ใช้อำนาจผูกขาดผลประโยชน์อย่างเป็นระบบ ทั้งยังเอื้อประโยชน์แก่ญาติมิตรและพวกพ้อง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้จึงเป็นปัจจัยที่บั่นทอนโครงสร้างทางการเมืองของฟิลิปปินส์ ปัญหาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูง ประชาชนขาดที่ดินทำกิน ความยากจน ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ได้สร้างความเบื่อหน่ายและคววามไม่พอใจแก่ประชาชนเป็นเวลานาน


ที่มาภาพ : https://iandme2012.wordpress.com/2013/11/09/

     จนกระทั่งปี 1965 เฟอร์ดินานด์ อี.มาร์กอส ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ภายใต้การสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา  โดยอเมริกาต้องการอาศัยฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการคงไว้ซึ่งอิทธิพลของอเมริกาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์  อเมริกาได้ตั้งฐานทัพสองแห่งในฟิลิปปินส์ ในขณะเดียวกันการเข้ามาของเมริกาก็ได้สร้างประโยชน์ให้มาร์กอสเช่นกัน คือ การเก็บค่าเช่าเรือจากอเมริกาในราคาสูง   การเปิดโอกาสให้ชาวฟิลิปปินส์เข้าไปทำงานในฐานทัพและสนับสนุนอเมริกาในด้านต่างๆ ซึ่งฟิลิปปินส์จะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นสิ่งตอบแทน  ในสมัยแรกของมาร์กอสสามารถใช้หนี้ต่างปรเทศได้เกือบหมด ทั้งเป้าหมายในการพัฒนายุทธศาสตร์ EOI ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ  ส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศดีขึ้น  มาร์กอสพยายามส่งเสริมการส่งออกเป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย EOI โดยที่อเมริกาเป็นผู้กำหนดบทบาทอยู่เบื้องหลัง


ที่มาภาพ : https://iandme2012.wordpress.com/2013/11/09/

      ในปี 1969 มาร์กอสได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง  ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์ของชาวฟิลิปปินส์ที่มีประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งสองสมัย  ในสมัยนี้เกิดปัญหามากมาย อันเนื่องมาจากการที่มาร์กอสได้นำเงินสำรองระหว่างประเทศไปใช้ในการหาเสียงจนเป็นหนี้กองทุนระหว่างประเทศและถูกบังคับให้ลดค่าเงินเปโซ การเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาการจ้างงาน ตลอดจนความขัดแย้งและความเคลื่อนไหวของกลุ่มภายในประเทศที่เกิดจากความไม่พอใจของประชาชน  ทำให้มาร์กอสประกาศใช้กฎอัยการศึกในปี 1972 โดยให้ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งอเมริกาก็สนับสนุนมาร์กอสเนื่องด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ   
     
      ฐานอำนาจที่สำคัญที่ส่งผลให้ประธานาธิบดีมาร์กอสสามารถอยู่ในอำนาจได้นานถึง 21 ปี ได้แก่ กลุ่มพวกพ้อง ซึ่งใช้อำนาจรัฐเป็นใบเบิกทางในการแสวงหาผลประโยชน์รวมถึงการเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในยุคกฎอัยการศึก  กลุ่่มเทคโนแครต ซึ่งเป็นเครื่องมือของมาร์กอสในการนำความน่าเชื่อถือจากต่างชาติมาสู่รัฐบาลมาร์กอส  กลุ่มหัวหน้าสภาบารังไก สัมพันธมิตรระดับท้องถิ่นที่ช่วยในการหาเสียงและสร้างความน่าเชื่อถือให้มาร์กอส กลุ่มธนาคารโลกและกองทุนระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือมาร์กอสโดยหวังว่าจะพัฒนาประเทศไปตามแนวทางยุทธศาสตร์ EOI และกลุ่มกองทัพทหาร ซึ่งให้ทหารเหล่านี้เข้าไปแทรกซึมในสังคมเพื่อเป็นหูเป็นตาให้แก่รัฐบาลและถือว่าเป็นฐานอำนาจที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่รัฐบาลมาร์กอส

      ทั้งนี้การล่มสลายของเฟอร์ดินาน อี.มาร์กอส เกิดจากปัจจัย 2 ประการ ดังนี้  ปัจจัยภายใน คือปัญหาเศรษฐกิจ การคอรัปชั่นและความยากจนที่มาร์กอสไม่สามารถแก้ไขได้ การนำเงินของรัฐจำนวนมหาศาลมาใช้ในการลงทุนในธุรกิจส่วนตัวและการอำนวยประโยชน์ให้แก่พวกพ้องมากกว่าการที่จะนำเงินไปพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง  การไม่รักษาคำพูดเรืองการปฏิรูปที่ดิน การซื้อเสียงและโกงการเลือกตั้ง การใช้ความรุนแรงจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก ปัญหาเหล่านี้นำไปสู่การรวมตัวของกลุ่มต่างๆหลายกลุ่ม ทั้งขบวนการนักศึกษา ชนชั้นกลาง ชาวนา นักธุรกิจ กลุ่มทหารและเจ้าหน้าที่ระดับล่าง รวมถึงศาสนจักรที่เห็นว่าอำนาจเผด็จการของมาร์กอสนำไปสู่ความรุนแรง และกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ได้ร่วมกับฝ่ายซ้ายคอมมิวนิสต์  เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือโค่นล้มประธานาธิบดีมาร์กอส

     ปัจจัยภายนอก จะเห็นได้ว่า สหรัฐอเมริกามีบทบาทต่อฟิลิปปินส์มาโดยตลอด จากการที่เคยสนับสนุนระบบมาร์กอสก็เริ่มถอนตัวออกจากการให้ความช่วยเหลือ เพราะอเมริกาไม่ได้ผลประโยชน์จากฟิลิปปินส์เท่าที่ควร ทั้งนโยบายยุทธศาสตร์ EOI แทนที่มาร์กอสจะออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติแต่กลับไปให้ความสำคัญกับการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มพวกพ้อง ระบบมาร์กอสที่เคยพึ่งพาอาศัยเงินกูและเงินลงทุนจากอเมริกา รวมถึงเงินกู้จากกองทุนระหว่างประเทศจึงเริ่มสั่นคลอนและถดถอย  เมื่อขาดเงินทุนและการสนับสนุน อำนาจของมาร์กอสก็ลดลง กระทั่งนำไปสู่การพังทลายและล่มสลายของระบบมาร์กอสในที่สุดเมื่อปี 1989  ตลอดระยะเวลาครองอำนาจ 21 ปี 



ที่มา :  http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1751/1/ศุภการ%20สิริไพศาล.pdf

บทความ : Dek-South East

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น