หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ขบวนการเเบ่งแยกดินแดนอาเจะห์หรือ GAM






ที่มาภาพ : https://prachatai.com/journal/2014/08/55091

       ความขัดแย้งระหว่างขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชอาเจะห์หรือ GAM กับรัฐบาลอินโนีเซียที่ยืดเยื้อมานาน   มีสาเหตุมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และการดำเนินนโยบายทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐบาลกลาง ในอดีตอาเจาะห์เคยเป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม มีสุลต่านปกครองโดยอิสระ  

       จนต่อมาได้ตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดา แต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง   ฮอลันดาได้ประกาศยกดินแดนอาเจะห์ให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย  ซึ่งชาวอาเจะห์มองว่าเป็นการส่งต่อไปสู่เจ้าอาณานิคมหนึ่งโดยไม่ถามความสมัครใจของคนในพื้นที่ ประกอบกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอาเจะห์ซึ่งแตกต่างจากชาวชวาที่มีจำนวนมากที่สุดในอินโดนีเซีย  อีกทั้งปัญหาของชาวอาเจะห์ที่ต้องการปกครองโดยใช้กฎหมายชีอะห์ซึ่งเป็นกฏหมายที่เคร่งครัดของชาวอิสลาม  เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา


การเฆี่ยนประจานตามกฎหมายชีอะห์
ที่มาภาพ : https://pantip.com/topic/34349728


       ขณะเดียวกันนโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจก็เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง โดยการค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอาเจะห์ ทำให้บริษัทน้ำมันของต่างชาติและชาวชวาได้สัมปทาน แต่ส่วนแบ่งรายได้กลับไม่ถึงมือคนท้องถิ่น นำไปสู่ ขบวนการปลดปล่อยอาเจะห์หรือ GAM ที่ประกาศต่อสู้เพื่ออิสระภาพจากรัฐบาลอินโดนีเซีย ในวันที่ 4 ธันวาคม 1976 การต่อสู้ของกลุ่ม GAM ในระยะเเรกยังอยู่ในวงจำกัด 


ที่มาภาพ : https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/21415
.
ที่มาภาพ :  https://ache-pko.blogspot.com/2014/12/blog-post.html

       จนกระทั่งประธานาธิบดีซูฮาร์โต ผู้นำเผด็จการยึดอำนาจและประกาศให้อาเจะห์เป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางทหาร  ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งการทรมาน อุ้มฆ่า ข่มขืน จนมีผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายเป็นจำนวนมาก ชาวอาเจะห์จึงเข้าร่วมกับกลุ่ม GAM มากขึ้น จุดเปลี่ยนสำคัญในการสร้างสันติภาพอาเจะห์เกิดขึ้นหลังการโค่นล้มซูฮาร์โต ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม นักศึกษา องค์กรทางการเมืองต่างๆ และสื่อ ที่ร่วมกันเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการเจรจาสันติภาพ  ทำให้อาเจะห์เป็นเขตปกครองพิเศษมาจนถึงปัจจุบัน


รูปคนสูญหายที่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชน
ที่มาภาพ : https://blogazine.pub/blogs/onanong/post/4006






ที่มา : 
https://blogazine.pub/blogs/onanong/post/4006
https://prachatai.com/journal/2005/07/4962
https://news.thaipbs.or.th/content/156983

บทความ: Dek-South East

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น