หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

DARK INSIDE มุมมืดในสังคมญี่ปุ่น


ที่มาภาพ : http://www.acu.ac.th/html_edu/cgi-bin/acu/main_php/print_informed.php?id_count_inform=11779

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทางการทูต รวมถึงการมีสถานภาพทางการเมืองและปัญหาใหม่ๆทั้งภายในและภายนอก ซึ่งผลกระทบดังกล่าวมีส่วนทำให้ชาวญี่ปุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความเชื่อและค่านิยมที่ต่างไปจากเดิม  ประชาชนเริ่มแสวงหาเป้าหมายใหม่โดยเฉพาะคุณภาพชีวิต การศึกษา การเรียกร้องความไม่เท่าเทียม การเมืองและปัญหาทางสังคมอื่นๆ อย่างไรก็ตามปัญหารุมเร้ามากมายในญี่ปุ่นถือเป็นจุดเปลี่ยนแนวคิดสำคัญ
ที่มาภาพ : http://j-channel.jp/th/c-news/c-japan/44473/?utm_source=dlvr.it&utm_medium=twitter

การเปลี่ยนแปลงความคิดและค่านิยมทางสังคมญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่น มีการปฏิรูปกฎหมายต่างๆเพื่อให้หญิงและชายมีสิทธิเสมอภาคกันจากแต่ก่อนที่ผู้ชายมักเป็นใหญ่ทำให้บทบาทผู้ชายที่เคยเข้มแข็งเปลี่ยนแปลงไป คือลักษณะครอบครัวได้มีการเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมจากครอบครัวขนาดใหญ่ในสังคมเกษตรกรรมมาเป็นครอบครัวเล็กๆในสังคมอุตสาหกรรม การเข้ามาทำงานในบริษัทและได้รับเงินเดือนมากขึ้นหรือที่เรารู้จักกันว่า Salary man
ที่มาภาพ : http://jpninfo.com/24921

ผู้เป็นสามีหรือพ่อบ้านมักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ทำงาน ส่วนผู้เป็นภรรยาหรือแม่บ้านจะต้องดูแลเรื่องการศึกษาของลูกและคบหาสมาคมกับเพื่อนบ้าน สามีจะเป็นผู้มอบเงินเดือนทั้งหมดให้ภรรยา อำนาจการจับจ่ายใช้สอยจะตกอยู่ในมือของภรรยาดังนั้นสถานภาพของสามีจึงตกต่ำ ตรงกันข้ามกับแต่ก่อนที่ครอบครัวชาวญี่ปุ่นจะอยู่ในความดูแลของพ่อบ้านทุกอย่าง ระบบครอบครัวที่แสนเข้มงวดเริ่มหย่อนยานลง เช่น ลูกชายคนโตจะต้องสืบทอดอาชีพครอบครัว ผู้เป็นพ่อจะมีอำนาจสูงสุดแต่ต่อมาผู้คนเริ่มเป็นอิสระจากระบบเข้มงวด ซึ่งค่านิยมในเรื่องความอดกลั้นของชาวญี่ปุ่นเริ่มแสดงออกมาในรูปแบบของความพยายาม ขยันขันแข็งและเอาจริงเอาจัง พร้อมที่จะยืนหยัดด้วยตัวเอง ทั้งนี้ก็ได้รับเอาวัฒนธรรมการดำรงชีวิตแบบตะวันตกเข้า ประชาชนเริ่มเข้าไปอาศัยอยู่ในอาพาร์ตเม้นต์มากขึ้น เกิดทัศนคติใหม่เกี่ยวกับชีวิตครอบครัว เช่น พยายามทำให้ครอบครัวมีความสุขและสนุกสนานไม่รู้สึกกดดันซึ่งเป็นทัศนคติที่รับมาจากตะวันตกนั่นเอง
ที่มาภาพ : https://www.alamy.com/stock-photo-mother-and-son-sitting-around-japanese-hot-pot-36664126.html

ค่านิยมเรื่องการแต่งงาน แม้ญี่ปุ่นจะรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแล้วแต่ผู้หญิงญี่ปุ่นก็ยังคงถูกมองว่าจะต้องเป็นภรรยาและแม่เท่านั้น ผู้หญิงจะต้องแต่งงานโดยไม่มีทางเลือก โครงสร้างของสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่ผู้ชายหรือพ่อจะต้องอุทิศตัวให้กับบริษัทหรือสถานที่ทำงานที่ตนสังกัดอยู่จนแทบไม่มีเวลาอยู่บ้าน  นั่นทำให้สามีไม่ให้ความสนใจภรรยาเท่าที่ควรเพราะหมกหม่นอยู่กับงาน ภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้านมิได้ประกอบอาชีพอื่น มีหน้าที่ดูแลบ้านและลูก จึงหันมาทุ่มเทความรักความเอาใจใส่กับลูกกลายเป็นครอบครัวแม่ลูก เกิดความคิดเกี่ยวกับสิทธิได้รับการศึกษาโดยเท่าเทียมกัน ทำให้ผู้หญิงเกิดสงสัยว่าเมื่อตนเรียนจบขั้นมหาวิทยาลัยเท่าผู้ชาย แต่ทำไมต้องทำงานบ้านเพียงอย่างเดียว รวมถึงแนวคิดการที่ญี่ปุ่นเปลี่ยนไปสู่สังคมอุตสาหกรรมก็เพราะรู้สึกว่าสังคมเกษตรกรรมนั้นล้าหลังกว่า ความรู้สึกล้าหลังนี้มีทั้งความรู้สึกอึดอัดใจ อายและความอยากจะเริ่มต้นใหม่

ปัญหาสำคัญในสังคมญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น

ที่มาภาพ : https://mgronline.com/japan/detail/9600000041654

ปัญหาเยาวชนฆ่าตัวตาย
ประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นที่รู้กันว่าเหตุการณ์กลั่นแกล้งกันในโรงเรียนนั้นเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมแห่งความกลมกลืน ทุกคนต้องปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน ไม่มีแหกกฎเพราะฉะนั้นเด็กๆจะได้รับการปลูกฝังจากครอบครัวและโรงเรียนด้วยกฎกติกาที่เคร่งครัดเพื่อให้ออกไปอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยระเบียบวินัยได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความเครียดสูงแล้วยังทำให้เกิดการกลั่นแกล้งกันในหมู่เด็กเพราะการไม่ยอมรับในความแตกต่างของเพื่อน และความเครียดจากการถูกปลูกฝังให้อยู่ในกฎระเบียบนี้เองทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงกับเพื่อน นอกจากนี้สภาพสังคมที่ยากจะยอมรับในความแตกต่างต้องอยู่ด้วยกันอย่างสงวนท่าที สงวนความรู้สึก ทำให้วัยรุ่นเกิดความเก็บกดไม่สามารถแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม และขาดการแลกเปลี่ยนสื่อสารความรู้สึกกับคนรอบตัว เมื่อรวมกับความที่เด็กถูกคาดหวังให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพสูง ต้องทำงานในองค์กรใหญ่ที่มีระเบียบวิธีการหางานที่เคร่งคัด ยิ่งทำให้เยาวชนญี่ปุ่นแบกรับแรงกดดัน
ที่มาภาพ : https://chandigarhmetro.com/haryana-girl-not-topper-class-commit-suicide-shot-herself-father-revolver/

เกิดเป็นภาวะซึมเศร้าจนหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตายอาจจะฆ่าด้วยการผูกคอและกระโดดตามรางรถไฟตามที่เราเห็นข่าวอยู่เรื่อยๆ แต่ความเครียดไม่ได้เกิดขึ้นกับเยาวชนญี่ปุ่นเท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นกับบุคคลวัยทำงานหรือที่เราเรียกกันว่า Salary man ซึ่งจะทำงานหนักแบบถวายหัวให้บริษัท ชาวญี่ปุ่นถือว่านี่มันเป็นสิ่งที่กระทำกันมาตั้งแต่ช่วงเศรษฐกิจบูมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พอประเทศปรับเปลี่ยนเป็นยุคสมัยใหม่ก็ราวกับว่าตัดสินค่าของคนด้วยผลงาน ผลตอบแทนยิ่งหนักตามไปด้วยคนก็ยิ่งแข่งกันขยันทำงานแบบลืมตาย แต่ถึงแม้งานจะหนักแค่ไหนคนก็ต้องทำงานกันต่อไปเพราะดีกว่าไม่มีงานทำ ญี่ปุ่นถือว่าคนต้องทำงานถ้าไม่ทำงานถือว่าเป็นคนไร้ค่า กลายเป็นค่านิยมทำงานหนักไปวันๆแทน ซึ่งบริษัทหลายต่อหลายแห่งก็หาประโยชน์จากตรงนี้ ใช้เป็นข้อต่อรองให้พนักงานทำงานหนักราวกับทาส แล้วยังเต็มไปด้วยเงื่อนไขต่างๆ หรือการกดขี่ คนที่เข้าไปทำงานแล้วจากคนดีๆ ดูมีอนาคตสดใสกลายเป็นคนมองโรคในแง่ร้าย เป็นโรคซึมเศร้า สุดท้ายทำงานไม่ไหวจึงนำมาซึ่งการตัดสินใจฆ่าตัวตาย
ที่มาภาพ : https://www.catdumb.com/heaven-prison-for-oldwm-415/

การก่ออาชญากรรมในสังคมคนชร คนชราหลายคนเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ความที่ไม่มีลูกหลานดูแล คนชราในญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งต้องอาศัยอยู่ตามลำพัง รวมถึงเสียชีวิตตามลำพังด้วย แต่สำหรับคนชราที่มีความคิดอยากใช้ชีวิตอย่างยาวนานและมีความสุขก็มีมากเช่นกัน แต่สิ่งที่พวกเขาคิดคือการก่ออาชญากรรม เงื่อนงำการก่อเหตุล้วนเป็นผลมาจากการที่คนรุ่นใหม่เริ่มทอดทิ้งคนชรามากขึ้น เช่น ลูกหลานนำผู้สูงอายุไปฝากไว้ตามสถานพยาบาลหรือองค์กรการกุศลแล้วก็หายตัวไปไม่กลับมาดูแลอีก ส่วนต่อมาคือลูกหลานไม่สามารถรับภาระเลี้ยงดูคนชราได้เพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลนั้นสูงมาก ความน่าเจ็บปวดอีกข้อก็คือ คนชราในญี่ปุ่นบางรายเริ่มตัดสินใจก่ออาชญากรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ขโมยของ เพื่อให้ตนเองเข้าไปอยู่ในคุกเพราะอย่างน้อยสภาพในคุกก็ยังดีกว่าการอาศัยอยู่ตามลำพังภายนอก เช่น ยังมีผู้คุมคอยดูแล จัดหาอาหารและแต่งตัวให้ มีเพื่อนนักโทษคนอื่น ๆ ให้พูดคุย ส่วนคนชราหลายคนเมื่อพ้นโทษก็จะมีลูกหลานมารับไปดูแล แต่ในบางกรณี ก็พบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดูแลคนชราที่สูงมาก ได้ทำให้คนชราเลือกที่จะก่ออาชญากรรมเพื่อกลับเข้าคุกมาอีก  การทำเช่นนั้นอาจทำให้คนชราเลือกที่จะก่ออาชญากรรมกันมากขึ้น เพื่อให้ตนเองมีที่พักพิงในยามชราซึ่งไม่เป็นภาระลูกหลาน

ที่มาภาพ : https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_135613

การกีดกันบุคคลเพศทางเลือกออกจากสังคม สังคมญี่ปุ่นปิดกั้นเรื่องเพศที่สาม ในอดีตสังคมผู้ชายเป็นใหญ่มาก่อน ญี่ปุ่นมีการแบ่งชัดเจนว่าอะไรที่ผู้ชายทำได้ อะไรที่ผู้หญิงห้ามทำ เป็นการวางผู้ชายไว้สูงกว่าผู้หญิง การที่ผู้ชายจะไปเป็นหญิงนั้นจึงเป็นเรื่องที่ถูกมองแบบเป็นอคติมาตลอดประกอบกับสังคมโรงเรียน สังคมที่ทำงาน การกลั่นแกล้งเกิดขึ้นมากมายและง่ายมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคนส่วนใหญ่รู้ว่า "เป็น" บุคคลนั้นจะตกเป็นเป้าทันทีและกลายเป็นปมด้อยไปทั้งชีวิตเลย และสำหรับคนที่แต่งหญิงออกนอกบ้าน ถ้าไม่ใช่คอสเพลย์ก็จะโดนสายตาสังคมทิ่มแทงจนเจ็บปวด เป็นค่านิยมที่สังคมญี่ปุ่นเป็นคนกำหนดมาแต่ไหนแต่ไร ดังนั้นการพยายามลดอคติต่อบุคคลเพศทางเลือกจึงเป็นเรื่องยาก
ที่มาภาพ : http://thitapa-siri.blogspot.com/2015/09/1.html

ปัญหาการก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดคนจำพวกฮิริโคโมริ หรือคนที่ปิดตัวเอง ขังตัวเอง หนีจากสังคม คนประเภทนี้จะเอาแต่กักขังตัวเองอยู่ในห้องของตน ตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกภายนอก จะเก็บตัวอยู่ในโลกของตัวเองไม่ออกไปสุงสิงกับใคร โดยที่สาเหตุอาจมาจากการไม่สามารถทำตามความต้องการของสังคมได้ จึงปฎิเสธที่จะออกมาใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม แต่เมื่อมีอินเทอร์เน็ต ความจำเป็นที่จะออกนอกบ้านยิ่งไม่มีเพราะแค่มีอินเทอร์เน็ตเครื่องเดียวก็สามารถติดต่อกับคนอื่นทางอีเมลหรือเข้าไปสนทนากับคนอื่นโดยใช้ชื่อปลอมได้ หลังจากนั้นอาจมีการนัดแนะกันเพื่อออกไปพบเจอกันบ้างซึ่งโยงใยไปสู่คดีการทำร้ายร่างกายหรืออาชญากรรมในที่สุด
ที่มาภาพ : https://www.catdumb.com/senji-nakajima-093/

นอกจากนี้ยังมีปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นในสังคมญี่ปุ่นมากมาย เช่น อัตราการเกิดต่ำ อาจมีหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การอยู่เป็นโสดมากขึ้น การแต่งงานที่ช้าลง การแต่งงานแต่ไม่มีลูกทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หรือความต้องการมีลูกที่น้อยลงของคู่สมรส ด้วยมักเห็นว่าการแต่งงาน และการมีลูกเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายที่คู่สมรสต้องใช้ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ การคลอด ในการเลี้ยงดูเด็กซึ่งจะสูงมาก นอกจากนี้ด้วยค่านิยมที่เปลี่ยนไปท่ามกลางสังคมสมัยใหม่หันมานิยมการใช้ชีวิตคนเดียว โดยเฉพาะผู้ชายเช่น ข่าวความสัมพันธ์ในการใช้ชีวิตกับตุ๊กตายางแทน กลายเป็นสิ่งสะท้อนถึงความเดียวดายของชายชาวญี่ปุ่นที่เเม้อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย เเต่ก็ยังรู้สึกอ้างว้างจนต้องหันหน้าไปสร้างความสัมพันธ์ทั้งทางกายและจิตใจ กับสิ่งไร้ชีวิต....




ที่มาบทความ :

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ปฏิบัตินิยมกับสังคมญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ที่มาภาพ : https://www.wayoflife.org/reports/independent_baptist_pragmatism.html
ปฎิบัตินิยม หรือ Pragmatism คือ ความรู้และความจริงที่เป็นประสบการณ์ มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ตายตัว คือสิ่งที่เป็นประโยชน์นำมาปฏิบัติให้ผลที่เราพึงพอใจได้ ซึ่งปฎิบัตินิยมนี้เริ่มขึ้นที่อเมริกา เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้ยอมรับข้อตกลงยอมแพ้สงครามของฝ่ายสัมพันธมิตรและประชาชนได้วางอาวุธตามพระราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิ ญี่ปุ่นตกอยู่ใต้การควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตรคือ อเมริกา และช่วงนี้เองที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลแนวคิด Pragmatism จากอเมริกา ซึ่งแนวคิดนี้ก็มีลักษณะสำคัญ ได้แก่
เน้นเรื่องการลงมือปฎิบัติจริง เพราะการลงมือทำจริง คือการสร้างโอกาสแห่งความสำเร็จที่มีความเป็นไปได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นการลงปฏิบัติไม่ควรที่จะยึดติดกับทฤษฏีใดทฤษฎีหนึ่งตลอดไป ควรแสวงหาวิธีอื่น ถ้าทฤษฎีใดยังมีผลต่อการปฎิบัติอยู่เราก็สามารถใช้ทฤษฎีนั้นต่อไปได้ และถ้าปฎิบัติไม่ได้จริงๆ ก็ควรโยนทิ้งไป
เน้นเรื่องประสิทธิภาพในทางปฎิบัติ ทั้งนี้เมื่อปฏิบัติหรือทดลองสำเร็จสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ประสิทธิภาพในการปฎิบัติ เพราะจะต้องเกิดผลในการปฎิบัติจริงๆ รวมถึงยืนยันผลของการทดลองนั้นและต้องพิสูจน์ได้
เน้นคุณประโยชน์ในทางปฎิบัติ สิ่งที่ลงมือปฎิบัติหรือทดลองนอกจากจะมีประสิทธิภาพแล้วยังต้องสร้างคุณประโยชน์ต่อโลก เพราะโลกแห่งอนาคตขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ถ้ามนุษย์หยุดนิ่งไม่กระทำการใดๆ ใหม่ๆ โลกแห่งอนาคตก็จะหยุดนิ่งเช่นกัน
เน้นประสบการณ์ ปฎิบัตินิยมสอนให้คำนึงถึงประสบการณ์ ไม่จำกัดเราอยู่ในวงแคบ ปฏิบัตินิยมจะบอกให้เรารู้ตระหนักในวิถีทางของประสบการณ์ การแสวงหาและการควบคุมประสบการณ์ซึ่งจะนำไปสู่จุดหมายของชีวิต อย่างมีประสิทธิภาพ
เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล  มีความเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะของตนทั้งท่าทาง อุปนิสัย ปัญญา ดังนั้นบุคคลที่มีความรู้เป็นเครื่องมือดีในตนเองจะไม่กลัวปัญหาและอุปสรรคใด ๆ แต่จะมองปัญหาเป็นโอกาส หรือทำวิกฤตให้เป็นโอกาส เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพทางการปฏิบัติของตนและทำตนให้แข็งแกร่ง เข้มแข็ง เพราะปัญหาและอุปสรรคมักทำให้บุคคลเข้มแข็งในการสู้ชีวิต สามารถใช้ชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
สามารถเข้าถึงได้ทุกชนชั้น แนวคิด Pragmatism ต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถลงมือปฏิบัติได้อย่างเท่าเทียม ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกทั้งความรู้ที่ได้มาจะทำให้เกิดประสบการณ์ทางความรู้โดยตรงต่อผู้ปฏิบัติ เพราะประสบการณ์เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์

ปฏิบัตินิยมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น
ทหารญี่ปุ่นทำลายเครื่องบินที่เหลือหลังสงรามโลกครั้งที่ 2
ที่มาภาพ : http://www.japan-in-trachoo-view.com/recovery-of-japan-after-ww2/

ชาวญี่ปุ่นได้รับแนวคิดปฏิบัตินิยมมาพัฒนาประเทศและก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง นั่นก็คือการรับเอาวิทยาการสมัยใหม่จากตะวันตกเข้ามาปรับใช้ภายในประเทศ ยกตัวอย่างเช่น


อุตสาหกรรมและนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ด้วยแนวคิดปฏิบัตินิยมทำให้ญี่ปุ่นเปิดรับวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาเพื่อฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม สิ่งที่เราเห็นได้ชัดก็คือ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาและนานาประเทศ ปฎิบัตินิยมในทางปฎิบัติของญี่ปุ่นคือการเริ่มทดลองนวัตกรรมใหม่ๆ อาจมีอเมริกาเป็นแม่แบบ แต่ญี่ปุ่นมีการเน้นประสิทธิภาพและประโยชน์ใช้สอยประกอบกับแนวคิดดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นเองที่เป็นบุคคลรอบคอบ ใส่ใจรายละเอียดและมองเห็นคุณค่าในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของญี่ปุ่นเป็นที่นิยมและรู้จักไปทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มาภาพ : https://mgronline.com/japan/detail/9600000109534

การแพทย์ ปัจจุบันนวัตกรรมด้านการแพทย์ของญี่ปุ่นถือว่าได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ทั้งยังมีบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีทักษะและประสบการณ์รวมถึงคำแนะนำที่ฉลาดในการดำรงชีวิต ช่วยให้สุขภาพของชาวญี่ปุ่นดีขึ้น จากการที่เห็นได้สถิติผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยยาวนานกว่าประเทศอื่น นั่นเป็นเพราะวิทยาการเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ผลจากการทดลองตัวยาและโภชนาการอาหารที่พยายามพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่ง
ที่มาภาพ : https://www.wegointer.com/2013/04/เปิดเผยแนวทางปฏิรูปการ/

การศึกษา ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากปฏิบัตินิยมที่เรื่องเน้นการลงมือปฏิบัติมากกว่าการยึดติดในตัวทฤษฎีทำให้เกิดประสบการณ์ทำให้เกิดการแสวงหาซึ่งจะนำไปสู่จุดหมายของชีวิต อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาจะมีฐานะเป็นเครื่องมือในการทำงาน ปฏิบัตินิยมจึงส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อยู่เรื่อย ๆ ไม่หยุดนิ่ง เพราะโลกของเราเปลี่ยนแปลงเร็วและมีปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และตามอัธยาศัยเพื่อสะสมความรู้ใส่ตัวไว้ให้มากที่สุดเอาไว้ เป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อเป็นเข็มทิศบอกว่าจะทำอย่างไรและแก้ไขปัญหาอย่างไร ชาวญี่ปุ่นจึงกระตือรือร้นในการเรียนเพื่อตั้งใจสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ และใช้เวลาว่างจากการเรียนทำงานพาร์ทไทม์เพื่อหาประสบการณ์ให้กับตนเอง

ที่มาภาพ : https://pasona.co.th/b/1149

การดำรงชีวิต ญี่ปุ่นคือสังคมที่ขึ้นชื่อว่าการทำงานสำคัญที่สุด ในทางปฎิบัตินิยมสังคมญี่ปุ่นจะวัดเรื่องประสิทธิภาพทางการทำงานของแต่ละบุคคล โดยถือว่าค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน การผลิตงานของบุคคลว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร ประสิทธิภาพของงาน การสร้างสรรค์ สามารถดูได้ที่ผลของงาน แนวคิดนี้จึงนิยมนำมาใช้ในสถาบันการศึกษา บริษัท และห้างร้านต่าง ๆ โดยประเมินดูจากผลงานที่ปฏิบัติการจริงของบุคลากรในสถาบัน บริษัท และห้างร้านนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร อีกทั้งเป็นวิธีการกระตุ้นให้บุคลากรและหน่วยงานทำงาน สร้างสรรค์งาน ให้คุ้มค่า คุ้มทุน และก่อเกิดประโยชน์ให้มากที่สุด พนักงานส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นจึงทำงานหามรุ่งหามค่ำและทุมเทกับการทำงานอย่างเต็มที่


ทั้งหมดนี้ถือเป็นตัวอย่างแนวคิดปฎิบัตินิยมที่ญี่ปุ่นรับเข้ามาพัฒนาประเทศของตน และเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า การทดลองและการแสวงหาความสำเร็จของชาวญี่ปุนสามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคทั้งปวงได้ ทั้งนี้ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตเพราะความรู้และความคิดเป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนแปลง


ที่มาบทความ :

นิชิเร็น | นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว


พระนิชิเร็นไดโชนิน
ที่มาภาพ : http://www.tairomdham.net/index.php?topic=10934.0

ช่วงที่ญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาวะสงคราม เกิดภัยพิบัติธรรมชาติที่ร้ายแรง เกิดโรคระบาด และได้รับความอดอยาก ทำให้คนเกือบครึ่งประเทศถูกทำลายและเสียชีวิต แต่สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ ศาสนาเองก็ยังดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด ไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความหวังขึ้นได้ เช่น นิกายสุขาวดี พวกเขากลับมองว่า ประชาชนจะมีความสุขได้ต่อเมื่อเสียชีวิตไป ยิ่งทำให้ทุกคนรู้สึกว่าชีวิตนั้นได้สูญสิ้นความหวัง ทำให้ พระนิชิเร็นไดโชนิน รู้สึกแปลกใจว่าทำไมชีวิตของประชาชนจึงมีแต่ความทุกข์สาหัสขนาดนี้ ทำไมคำสอนนิกายสุขาวดีจึงไม่สามารถช่วยประชาชนให้พ้นทุกข์และช่วยโลกให้พ้นความวิบัติได้ พระนิชิเร็นจึงเริ่มต้นศึกษาค้นคว้าพระสูตรทั้งหมดเพื่อหาคำตอบจนสามารถรู้แจ้งว่า นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว หรือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็นสิ่งเดียวที่มีพลังต่อการช่วยเหลือประชาชนได้
กำเนิดพระนิชิเร็น
ที่มาภาพ : https://tolls92re.wordpress.com/2014/08/31/การเกิดของพระนิชิเร็นไ/

จากนั้นได้เริ่มเผยแผ่คำสอนโดยการให้สวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว นอกจากนี้พระนิชิเร็นยังได้เตือนรัฐบาลว่า อย่าเชื่อถือต่อคำสอนที่ผิดเพราะจะทำให้ประเทศชาติต้องล่มจม ทั้งยังเสริมว่าคำสอนของพุทธศาสนาอันแท้จริงมีจุดหมายอยู่ที่สันติภาพและความสุขของประเทศทั้งหมด ทำให้รัฐบาลและผู้นำนิกายอื่นๆในสมัยนั้นต่างพากันโกรธแค้นมาก พระนิชิเร็นโดนประทุษร้ายมาตลอดแต่ในที่สุดท่านก็สามารถจารึก โงะฮนซน ขึ้นเพื่อเป็นสิ่งสักการะสูงสุดแก่ประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งบูชาที่แสดงสภาพชีวิตพุทธะ การเห็นแจ้งจิต ที่สำคัญก็คือในการสวดนัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ต้องสวดต่อเนื่องกันและต้องสวดต่อหน้าโงะฮนซน เนื่องจากว่า จิตของเรามักเปลี่ยนไปๆมาๆ  และสิ่งที่ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้คือ คำสอนใน ทฤษฎี 10 โลก ได้แก่



1. โลกนรก “ความโกรธแค้นคือนรก” โลกนรกจึงไม่ใช่โลกหลังความตาย แต่เป็นโลกที่เราดำเนินชีวิตประจำวัน ใช้เรียกสภาพชีวิตที่เป็นทุกข์ ทุกข์ด้วยความโกรธแค้นไม่มีอิสระ ถูกมัดด้วยความเศร้าหมอง

2. โลกเปรต “ความโลภคือเปรต” สำหรับมนุษย์ ความปรารถนาต่างๆ ไม่มีขอบเขตจำกัด ตราบใดที่ถูกทำให้หวั่นไหวด้วยความปรารถนา แต่เราสามารถควบคุมได้โดยเลือกดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง
3. โลกเดรัจฉาน “ความโง่เขลาคือเดรัจฉาน” เป็นสภาพชีวิตที่เหมือนสัตว์ ที่มีการกระทำไปตามสัญชาตญาณ
4. โลกอสุระ “ความคดเคี้ยวคืออสุระ” เป็นสภาพชีวิตที่ยึดตนเองเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงคนอื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความอิจฉา ฉุนเฉียว โกรธแค้น และชอบการต่อสู้ อาจก่อให้เกิดสงคราม
5. โลกมนุษย์ “ความสงบราบเรียบคือมนุษย์” เป็นสภาพที่ได้รับความสงบสุขราบรื่นในช่วงเวลาสั้นๆ ท่ามกลางการดำ เนินชีวิตที่หวั่นไหวไปตามอารมณ์
6. โลกเทวะ “ความปิติยินดีคือเทวะ” เป็นสภาพที่ยินดี และพอใจเหมือนได้ ขึ้นไปถึงสวรรค์ สภาพชีวิตที่ร่าเริง ในเวลาที่ดีใจมาก มีความรู้สึกราวกับว่าเท้าไม่ถึงพื้น เรียกว่า “โลกเทวะ” แต่ เป็นโลกที่ไม่จีรังยั่งยืน
7. โลกสาวก เป็นสภาพจิตใจที่เข้าใจในความคิดเห็น ประสบการณ์ ของผู้คนต่างๆ พยายามพัฒนา ตนเองเติมเต็มความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยการขัดเกลาตนเอง และใฝ่หาความรู้ตลอดจนศิลปวิทยาการอยู่ เสมอ
8. โลกปัจเจก เป็นสภาพชีวิตที่ไปสัมพันธ์กับอะไรบางอย่างแล้วสามารถตระหนักรู้ในกฎเกณฑ์ของชีวิต และของจักรวาลเพียงบางส่วน รู้สึกปิติยินดีที่ได้สร้างหรือค้นพบอะไรขึ้นมา ก่อให้เกิดความคิดที่ว่าตนเองยิ่งใหญ่ ไม่แยแสผู้อื่น และเชื่อว่าตนเองเท่านั้นที่เข้าสู่สภาวะนั้นได้
9. โลกโพธิสัตว์ เป็นสภาพการเห็นประโยชน์ของผู้อื่น พยายามมอบสิ่งดีๆให้กับชีวิตคนอื่น
10. โลกพุทธ เป็นสภาพสูงสุดในชีวิตของมนุษย์ หยั่งรู้ถึงความสุขสัมพันธ์และความสุขสัมบูรณ์ - ความสุขสัมพันธ์ หมายถึงสภาพที่พึงพอใจทางด้านวัตถุสิ่งของหรือความอยาก ความปรารถนาที่ได้รับการเติมเต็ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีขอบเขตจำกัด - ความสุขสัมบูรณ์ หมายถึงสภาพชีวิตที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเพียงแต่ ได้มีชีวิตอยู่ก็มีความสุขที่สุดแล้ว นั่นคือ ความสุขด้านจิตใจ

ที่มาภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/นามูเมียวโฮเร็งเงเกียว

สัทธรรมปุณฑริกสูตร สอนว่ามนุษย์ทุกคนมีสภาวะพุทธะที่สูงส่งอยู่ภายในชีวิตทุกคน แต่จะทำอย่างไร ให้โลกพุทธปรากฏออกมาได้ ความเป็นไปได้ดีก็จะปรากฏออกมาเอง สภาพ 10 โลก จะถูกดึงออกมาโดยอาศัยปัจจัยอย่างหนึ่งหรือโอกาสที่จะทำให้ปรากฏสภาพชีวิตแห่งความสุขเหนือความทุกข์ เนื่องจากว่าปัจจัยที่จะดึงโลกพุทธซึ่งเป็นสภาพชีวิตที่สูงส่งที่สุดออกมานั้นไม่มีอยู่ในโลกนี้ จึงไม่สามารถปรากฏออกมาได้


ไดโงะฮนซน
ที่มาภาพ : https://plus.google.com/117700424771219240294/posts/bet4PBCPnue

ทั้งนี้การสวดนัมเมียวโฮเร็งเงเคียวตามหลักสัทธรรมปุณฑริกสูตรในนิกายนิชิเร็นมีความเชื่อว่า การปฎิบัติธรรมจะสามารถนำพาความสุขและสันติสุขมาสู่โลก เพราะเป็นการสวดเพื่อปลอบโยนจิตใจจากสภาวะความตึงเครียดในหน้าที่การงานและสิ่งแวดล้อมอันเร่งรีบที่ชาวญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ สวดเพื่อบรรเทาปัญหาความทุกข์ในชีวิต ทำให้เข้าใจคามเชื่อมโยงของชีวิต เข้าใจความทุกข์ของคนอื่นและพร้อมที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้น โดยการมอบความหวังให้พวกเขา เพื่อที่พวกเขาจะสามารถเดินหน้าเข้าหาความสุขได้ ดำเนินชีวิตอย่างเต็มที่ในรูปแบบของตนเอง นอกจากนี้ยังทำให้เป็นคนมองเห็นคุณค่าในชีวิตของตนเองและผู้อื่น เพราะมนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเป็นพระพุทธะที่มีจิตใจสูงส่ง ถ้าเราให้เกียรติคนอื่นและเข้าใจว่าคนอื่นต่างก็มีสภาพจิตใจที่สูงส่งเหมือนกับเรา โลกของเราก็สามารถเกิดสันติสุขได้

ที่มาภาพ : https://learnjapanese123.com/what-are-the-different-japanese-household-shrines-and-altars/butsudan-praying1/
ซึ่งคำสอนนิชิเร็นทั้งหมดนี้ล้วนมีหลักปฎิบัติที่ไม่ยุ่งยาก ไม่มีการกราบไหว้บูชาสิ่งอื่นไดนอกจากโงะฮนซน ไม่มีการนั่งสมาธิวิปัสสนาหรือกรรมฐาน เพียงแค่ท่องบทสวดนัมเมียวโฮเรงเงเคียว ที่แปลว่า ขอนอบน้อมจงมีแด่สัทธรรมปุณฑริกสูตร เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระอมิตาพุทธะได้แล้ว จนทำให้พุทธศาสนานิกายนิชิเร็นกลายเป็นที่นิยมชมชอบของชาวญี่ปุ่น
ที่มาภาพ : https://nstmyosenji.org/basic-terminology-of-nichiren-shoshu/buddhist-altar-offerings




ที่มาบทความ :