หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

WIL Experience : Into The Real World (Review)





WIL Experience : Into The Real World
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่โลกของการทำงานจริง

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับโลกที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตเราและสิ่งหนึ่งที่พูดกันเสมอๆ คือเรื่องของ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวในปัจจุบันและเตรียมตัวสำหรับอนาคต และแน่นอนว่าสำหรับความกังวลใจของนักศึกษาจบใหม่มักวนเวียนอยู่ไม่กี่เรื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การกลัวจบมาแล้วจะไม่มีงานทำ เพราะต่างไม่มั่นใจกับประสบการณ์ที่ยังไม่มี โดยเฉพาะปัจจุบันมีหลายบริษัทมักต้องการคนที่มีประสบการณ์มากกว่า

          เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (iSchool KKU) ได้จัดโครงการ WIL Experience : Into The Real World การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่โลกของการทำงานจริง เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับทักษะการทำงานจากประสบการณ์ตรงของวิทยากร และยังได้ลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรม Workshop ซึ่งทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการเข้าสู่โลกของการทำงานในยุคศตวรรษที่ 21

วิทยากรจากแผนก HR ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา
คุณจันทิมา อุไรไพรวัน และ คุณปิยภัทร ไพบูลย์สุขเกษ

ทั้งนี้ คุณจันทิมา อุไรไพรวัน และ คุณปิยภัทร ไพบูลย์สุขเกษ ซึ่งเป็นวิทยากรจากแผนก HR ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงทักษะการทำงานที่บริษัททั่วโลกต้องการนั่นคือ Soft Skills และ Hard Skills ซึ่ง Soft Skills (ทักษะด้านอารมณ์) ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การพูดโน้มน้าว การปรับต้ว การบริหารเวลา และการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ถือว่าสำคัญที่สุดโดย Soft Skills จะต้องอาศัยประสบการณ์การลงมือซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นหลัก ส่วน Hard Skills (ทักษะด้านความรู้) ได้แก่ การใช้งานระบบคลาวด์ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์เชิงเหตุผล การบริหารบุคคล รวมถึงทักษะการออกแบบ UX/UI เหล่านี้คือทักษะที่เราใช้ในการทำงานซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้เรื่อยๆ ผ่านการเรียนในห้องเรียนหรือการเรียนรู้ด้วยตัวเอง 

นอกจากนี้นักศึกษายังได้ฟังแนวคิดของการเป็นผู้ประกอบการที่ทันโลกโดย คุณพิน เกษมศิริ ซึ่งเป็น CEO ของบริษัท CareerVisa Thailand สตาร์ทอัพเพื่อสังคมที่มีความเชี่ยวชาญด้านตลาดแรงงานบัณฑิตใหม่ และการเติบโตตามสายอาชีพ โดยได้กล่าวว่า การเลือกงานไม่เหมือนการเลือกมหาวิทยาลัย เพราะงานคือส่วนหนึ่งของชีวิตเรา อยู่กับเราไปตลอดและเราไม่ควรเลือกงานที่เราคิดว่าเก่ง แต่ควรเลือกงานที่เราชอบเพราะความชอบจะทำให้เรามีโอกาสพัฒนาและไปได้ไกลจนประสบความสำเร็จมากกว่า ต่างกับการเลือกมหาวิทยาลัยที่เป็นเพียงเศษเสี้ยวความรู้ที่เราต้องเก็บสะสมไว้ใช้ในการทำงานจริง ทั้งนี้การรู้จุดแข็ง-จุดอ่อนของตนเอง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่นำเราไปสู่การรู้จักตัวเอง รู้จักเป้าหมายและรู้จักวิธีการสื่อสารที่ถูกต้อง

จุดแข็งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง เช่น ทักษะที่ถนัดที่สุดหรือสิ่งที่คิดว่าเราทำได้โดดเด่นกว่าคนอื่น ส่วนจุดอ่อน มักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปไม่เคยสังเกต หรืออาจจะกลัวที่จะต้องรับรู้ว่าตัวเรานั้นมีข้อด้อยอะไรบ้าง หลายคนกลับปล่อยจุดอ่อนตัวเองไว้แทนที่จะหาจุดอ่อนให้เจอและพยายามปรับปรุงเพื่อลบจุดด้อยนั้นออกไป ซึ่งหลายครั้งจุดอ่อนเหล่านี้ยังเป็นตัวฉุดไม่ให้เราประสบความสำเร็จในการทำงานด้วย เราจึงต้องหาจุดอ่อนของตัวเองให้เจอ
CEO บริษัท CareerVisa Thailand  : คุณพิน เกษมศิริ

        ภาพรวมของโครงการ
WIL Experience : Into The Real World การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่โลกของการทำงานจริง นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะการเพิ่มความรู้หรือทักษะใหม่ๆ ในการทำงานมีความจำเป็นอย่างมากในยุคนี้ การมีทักษะหรือความสามารถเดียวอาจไม่เพียงพอให้เราเดินไปถึงเป้าหมายในอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันที่เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น มองไปทางไหนก็พบเจอแต่ความสะดวกสบาย มิหนำซ้ำเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ดังนั้นควรเปิดโอกาสให้ตนเองได้ทดลองฝึกฝนหรือพัฒนาทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะทักษะด้าน ICT ที่เปรียบเสมือนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพราะถ้าหากเรามีทักษะนี้ เท่ากับว่าเรามีใบเบิกทางสู่การทำงานแล้วแน่นอน





บทความ
Dek-South East Asia



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น