หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ



การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน

เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน ประการ คือ

      1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น

     2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น

สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
        การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนไม่เท่ากัน ประเทศที่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศนั้นจะเป็นผู้ผลิตและส่งสินค้าไปขายที่อื่น ๆ เหตุที่ประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่างกันเพราะว่า มีความแตกต่างในปริมาณและทรัพยากร กล่าวคือ บางประเทศมีแร่ธาตุมาก บางประเทศเป็นแหล่งน้ำมัน บางประเทศมีป่าไม้มาก เป็นต้น ประกอบกับความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ส่งผลให้สินค้าบางชนิดสามารถผลิตได้ในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น ยางพาราส่วนมากผลิตในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก กาแฟส่วนมากมาจากบราซิล เป็นต้น ประเทศที่มีทรัพยากรการผลิตชนิดใดมาก จะได้เปรียบในการผลิตสินค้าซึ่งต้องใช้ทรัพยากรชนิดนั้นเป็นปัจจัยการผลิต เพราะราคาของปัจจัยการผลิตชนิดนั้นจะต่ำ เนื่องจากมีมากเมื่อเทียบกับความต้องการซึ่งมีผลให้ต้นทุนการผลิตตลอดจนราคาขายต่ำไปด้วย ประเทศจึงควรผลิตสินค้าดังกล่าวเพื่อส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ขาดแคลน หรือสินค้าที่มีราคาสูงโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศไทยมีที่ดินมากและสภาพภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ดังนั้นไทยควรจะผลิตข้าวหรือสินค้าทางการเกษตรอย่างอื่นเป็นสินค้าส่งออกเพราะต้นทุนต่ำกว่า ในขณะที่ญี่ปุ่นก็ควรผลิตสินค้าประเภททุน เช่น เครื่องจักรเครื่องมือ รถยนต์ เนื่องจากมีที่ดินน้อย แต่มีปัจจัยทุนมาก ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในญี่ปุ่นต่ำกว่าไทย จึงปรากฏว่า ญี่ปุ่นต้องซื้อข้าวจากไทยและไทยต้องซื้อเครื่องจักรเครื่องมือจากญี่ปุ่น

       อย่างไรก็ตามความมากน้อยของทรัพยากรตลอดจนปัจจัยการผลิตที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวมิใช่เป็นสิ่งที่กำหนดต้นทุนให้ต่ำกว่าประเทศอื่นเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความชำนาญของประชากรระดับเทคโนโลยี เป็นต้น จริงอยู่ ไทยและฟิลิปปินส์ต่างก็เป็นประเทศที่มีแรงงานเป็นจำนวนมากและค่าจ้างค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศ แต่มิได้หมายความว่าไทยและฟิลิปปินส์จะมีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิตเท่ากับญี่ปุ่นหรือสวิตเซอร์แลนด์ เพราะว่า คุณภาพของประชากรในการผลิต ตลอดจนความเจริญทางเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นและสวิตเซอร์แลนด์สูงกว่าไทยมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตนาฬิกาของญี่ปุ่นหรือ สวิตเซอร์แลนด์ ต่ำกว่าไทย จึงปรากฏว่า ไทยต้องซื้อนาฬิกาจากประเทศเหล่านี้ นั่นหมายถึงว่านอกจากปริมาณของทรัพยากรแล้ว ประสิทธิภาพการผลิตหรือความชำนาญของปัจจัยก็เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดต้นทุนการผลิตสินค้า ความแตกต่างดังกล่าวข้างต้น คือ ความแตกต่างในปริมาณและชนิดของทรัพยากร สภาพภูมิอากาศและความชำนาญในการผลิตประกอบกับความไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทุกชนิดที่ต้องการได้เองภายในประเทศ จึงมีความต้องการแลกเปลี่ยนสินค้าบางอย่างที่ผลิตได้กับสินค้าที่ต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ หรือผลิตได้คุณภาพก็ไม่ดีพอการค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นมาโดยมีหลักการสำคัญคือ ประเทศจะผลิตสินค้าที่ตนเองขาดแคลนหรือผลิตได้แต่ต้องใช้ต้นทุนสูงจากต่างประเทศการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันตามหลักการแบ่งงานกันทำย่อมทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกที่มีอยู่อย่างจำกัดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งเราสามารถพิจารณาจากการค้าขายของบุคคลภายในประเทศ นั่นคือ พ่อบ้านจะไม่ยอมตัดเสื้อเพื่อสวมใส่เอง ถ้าหากเขาสามารถซื้อเสื้อผ้าจากท้องตลาดในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่เขาผลิตเอง ในทำนองเดียวกัน ช่างตัดเสื้อย่อมไม่พยายามทำรองเท้าใช้เองแต่จะซื้อรองเท้าใช้จากช่างทำรองเท้า ชาวนาย่อมไม่ตัดเสื้อหรือตัดรองเท้าโดยเขาจะจ้างช่างตัดเสื้อหรือจ้างช่างตัดรองเท้าเมื่อเขาเห็นว่า ราคาที่เขาจ่ายไปต่ำกว่าต้นทุนที่เขาต้องจ่าย เป็นต้น ทุกคนควรจะผลิตสินค้าที่ตัวเองมีความถนัดและชำนาญและนำไปขายหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ตนเองต้องการ จะทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นหรือราคาที่ต่ำลง ดังนั้นประเทศก็เช่นเดียวกับบุคคล โดยที่จะได้รับประโยชน์มากขึ้น ถ้าหากประเทศสามารถซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ในราคาต่ำกว่าต้นทุนที่ผลิตได้ภายในประเทศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ
-กฎหมายที่เกี่ยวกับการซื้อขายระหว่างประเทศ  เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ  กฎหมายซื้อขายของประเทศอังกฤษ
-กฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ  เช่น อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งกฎเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับใบตราส่ง
-กฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยทางทะเล
-กฎหมายเกี่ยวกับการชำระเงินและชำระราคา
-กฎหมายเกี่ยวกับวิธีการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ
-กฎหมายขัดกัน

ลักษณะเฉพาะของการค้าระหว่างประเทศ
-มีองค์ประกอบระหว่างประเทศเสมอ
-มีประเด็นเรื่องการนำกฎหมายใดมาใช้บังคับคดี
-มีลักษณะเป็น Documentary sale
-มักมีการชำระด้วยราคา Documentary Payment
-มักมีข้อตกลงในลักษณะ Shipment term
-มักมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีทางอนุญาโตตุลาการ
-มีกฎหมายและสัญญาต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง
-มักนิยมใช้สัญญามาตรฐานในการค้าระหว่างประเทศ
-ต้องเกี่ยวข้องกับการดำเนินพิธีการทางศุลกากร
-มักเกี่ยวข้องกับสกุลเงินต่างประเทศ


****Incoterms
Incoterms (International Commercial Terms) คือ เป็นข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้า หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า โดยกำหนดเป็นมาตรฐานความหมายการค้าที่ใช้ตกลงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็นสากล ได้รับการดูแลและคุ้มครองโดยสภาหอการค้านานาชาติ (ICC: International Chamber of Commerce) ซึ่งยึดติดกับการค้าสหประชาชาติหลัก เพื่อให้คู่ค้าทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่าง ๆ โดยช่วยให้ทั้งสองฝ่ายที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมมีความเข้าใจตรงกัน โดย INCOTERM ปี 2010

EXW – Ex Works (… the named place)
เงื่อนไข การส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้เตรียมสินค้าไว้พร้อมสำหรับส่งมอบให้กับผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้ขายเอง โดยผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนส่งสินค้า ไปยังคลังสินค้าของผู้ซื้อเอง

FCA –Free Carrier (… the named point of departure)
เงื่อนไข การส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับขนส่งที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่ง ที่ผู้ขายต้องทำพิธีการส่งออกรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และความเสี่ยงภัยระหว่างการขนส่งจากสถานที่ของผู้ขาย จนกระทั่งถึงสถานที่ของผู้รับขนส่ง ส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนสินค้าและความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ไปยังจุดหมายปลายทางเป็นของผู้ซื้อ

FAS –Free Alongside Ship (… the named port of origin)
เงื่อนไข การส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้นำสินค้าไปยังกาบเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ส่วนค่าใช้จ่ายในการนำของขึ้นเรือ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ความเสี่ยงภัยในการนำของขึ้นเรือ และระหว่างการขนส่งเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบไปยังกาบเรือ และผู้ซื้อต้องรับผิดชอบการทำพิธีการส่งออกด้วย

FOB – Free On Board (… the named port of origin)
เงื่อนไข การส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีการส่งออกด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่ของผ่านกาบระวางเรือไปแล้ว



****Letter of Credit
 หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า


บทความโดย :
Dek-South East Asia

สาขาของกฎหมายระหว่างประเทศ





กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้กำหนดให้รัฐใดมีอำนาจเหนืออีกรัฐหนึ่ง แต่เป็นการจรรโลงความสัมพันธ์ระหว่างอธิปไตยไว้ ส่วนการใช้อำนาจบังคับของกฎหมายนั้น บางครั้งกฎหมายระหว่างประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายในประเทศ แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะไม่ยอมรับไม่นำเอากฎหมายภายในประเทศใดประเทศหนึ่งมาเป็นหลักในการพิจารณาคดีพิพาทระหว่างประเทศโดยเป็นอันขาด
สาขาของกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่
1.       กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง  (Public International Law) คือ เป็นบทบัญญัติที่บัญญัติขึ้นมาใช้ควบคุมบังคับกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐอันเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่การเมืองการปกครองระหว่างประเทศที่จะพึงปฏิบัติต่อกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ และเรื่องที่รัฐต่อรัฐมีความสัมพันธ์ที่จะพึงปฏิบัติต่อกันนั้น เช่น เรื่องของอาณาเขตดินแดน (คดีปราสาทเขาพระวิหาร) การแบ่งปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล เคารพสิทธิของกันและกันในเรื่องของดินแดน เรื่องทางการทูต การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตหรือทูตระหว่างประเทศ เรื่องสิทธิในทางการทูต การทำสนธิสัญญา และการทำสงคราม  เป็นต้น
2.       กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law) เป็นกฎหมายที่นำมาบังคับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ถือว่าเป็นพลเมืองของรัฐในทางแพ่ง เช่น เรื่องการสมรส การหย่า การได้สัญชาติ หรือการสูญเสียสัญชาติ เป็นต้น
3.       กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (Criminal International Law) เป็นกฎหมายที่นำมากำหนดด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในคดีอาญา เมื่อพลเมืองของรัฐมีการกระทำผิดกฎหมายอาญา เช่น การกำหนดอำนาจที่จะใช้บังคับและปฏิบัติต่อชาวต่างประเทศ หรือการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน จึงต้องใช้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญานี้มาควบคุม เพราะการที่จะลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญาแล้วหลบหนีไปรัฐอื่นนั้นเป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจรัฐ ฉะนั้นเพื่อป้องกันปราบปรามคดีอาญาดังกล่าวรัฐต่าง ๆ จะต้องทำสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อกันได้ เพื่อสะดวกในการนำผู้กระทำผิดนั้นมาลงโทษตามความผิดนั้น ๆ

**เพิ่มเติม
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  (International Humanitarian Law : IHL) เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศจากเดิมเรียกกันว่า กฎหมายระหว่างประเทศยามสงคราม หรือ กฎหมายสงคราม” กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งส่งเสริมคุณค่า  อันเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเริ่มต้นจากความพยายามของนายอังรีดูนังต์และคณะที่จะหาทางลดภาวะทุกข์ทรมานอันน่าสะพรึงกลัวที่เกิดกับทหารและพลเรือน  จากการสู้รบระหว่างคู่สงคราม  พวกเขาได้รณรงค์เป็นเวลานานจนรัฐต่างๆ  เห็นความสำคัญของปัญหาทำให้สาระสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกป้องคุ้มครอง  และดูแลพลเรือนของประเทศคู่สงคราม เช่น ห้ามการใช้อาวุธและวิธีการทำการสู้รบซึ่งมีลักษณะการทำลายล้างอย่างมหาศาล  ก่อให้เกิดความสูญเสียโดยไม่จำเป็นหรือความทุกข์ทรมานเกินไป เช่น การใช้อาวุธเคมี การใช้อาวุธชีวภาพ อาวุธนิวเคลียร์ ห้ามกระทำการรุนแรงหรือคุกคามว่าจะทำการรุนแรงเพื่อให้ประชาชนหวาดกลัว เป็นต้น  ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ดังนี้
1.การเคารพชีวิตทหารและพลเรือน 2.การเคารพสัญลักษณ์กาชาด 3.ห้ามทำร้ายคนที่วางอาวุธ 4.ช่วยคนบาดเจ็บ รักษาพยาบาล 5.การแบ่งเขตระหว่างทหารและพลเรือน 6.การจำกัดวิธีการทำสงคราม
กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (International Human Rights Law : IHRL) ก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายที่ว่ามุ่งมั่นส่งเสริมการเคารพสิทธิ และอิสรภาพ ซึ่งสิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจำแนกกว้างๆ ได้เป็น ส่วนคือ สิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพและความมั่นคงของบุคคล อิสรภาพจากความเป็นทาสและการถูกทรมาน ความเสมอภาคในทางกฎหมาย สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เสรีภาพในทางความคิด การนับถือศาสนา การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ส่วนอีกด้านหนึ่งคือสิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงสิทธิในการทำงาน สิทธิทางการศึกษา สิทธิทางอาหาร และสิทธิที่จะได้รับบริการทางด้านสาธารณสุข เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะของสิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนคือ
1.       เป็นสิทธิที่ติดตัวมากับความเป็นมนุษย์ (inherent) หมายถึงเมื่อคนเกิดมาก็มีสิทธิมนุษยชนติดตัวมาด้วย
2.       เป็นสิทธิที่เป็นสากล (universal) คือเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนเหมือนกันไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ เพศ หรือนับถือศาสนาใด ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มาจากพื้นฐานสังคมหรือการเมืองอย่างใด มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสรเสรี มีความเท่าเทียมกันในสิทธิและศักดิ์ศรี
3.       เป็นสิทธิที่ไม่สามารถถูกพรากไป หรือยกให้แก่กันได้ (inalienable) คือไม่มีใครจะมาพรากเอาสิทธิมนุษยชนไปจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ ถึงแม้ว่ากฎหมายของประเทศ จะไม่ยอมรับรองสิทธิมนุษยชน หรือแม้จะละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม ประชาชนของประเทศนั้นก็ยังมีสิทธิมนุษยชนอยู่
4.       เป็นสิทธิที่ไม่ถูกแยกออกจากกัน (indivisible) กล่าวคือ สิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งประกอบด้วยสิทธิสองส่วนคือ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมนั้น จะต้องไม่ถูกแยกออกจากกัน สิทธิทั้งสองส่วนนี้จะต้องได้รับการเคารพ ปกป้อง และเติมเต็ม (ทำให้เกิดขึ้น) เพื่อที่จะให้บุคคลทุกคนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

นอกจากนั้นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ระบุหลักการที่สำคัญไว้ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติคือ หลักความเสมอภาค (Equality) และการไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination) ซึ่งหมายถึงการที่ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง สถานภาพทางการเกิดหรือสถานภาพอื่นๆ

****ยกตัวอย่างองค์กรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศ
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง The Greater Mekong Subregion (GMS) 
เป็นความร่วมมือของ ๖ ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) เช่น การสนับสนุนเงินทุนสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ ช่วยเหลือการก่อสร้างเส้นทาง และสร้างเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเล
-การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ – เชื่อมโยงไทย-พม่าลาว-จีน
-การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก– เชื่อมโยงพม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม                         -
-การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ – เชื่อมโยง ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม
-ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
-ความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน
-ความร่วมมือด้านพลังงาน ความร่วมมือด้านโทรคมนาคม ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


องค์การการค้าโลกหรือ World Trade Organization (WTO) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศดำเนินไปบนพื้นฐานการค้าเสรีรักษาระเบียบการค้าระหว่างประเทศ ที่ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม เพราะมีความเชื่อว่าการค้าระหว่างประเทศโดยเสรีทำให้มีการผลิตตามความถนัดหรือผลิตตามความชำนาญเฉพาะอย่าง และนำไปสู่การขยายตัวการสร้างงาน การค้า การลงทุน ตลอดจนสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งก่อให้เกิดเสถียรภาพและสันติภาพของโลกในที่สุด
            WTO มีหน้าที่สำคัญ ประการ ได้แก่ (1) การดูแลและกำกับให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปตามข้อตกลงพหุภาคี (MTA) โดยไม่เลือกปฏิบัติและมีความโปร่งใส (2) การอำนวยความสะดวกในการเจรจาระหว่างประเทศภาคี เพื่อประโยชน์ทางการค้าแบบพหุภาคี รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอตลอดจนทำการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญๆ (3) เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสมาชิก และหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการจัดตั้งคณะผู้พิจารณา (Panel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งมีกลไกยุติข้อพิพาททางการค้าด้วย และ (4) การบริหารกลไกการทบทวนนโยบายการค้าของประเทศภาคี


ธนาคารโลก (World Bank) หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
หน้าที่ ให้กู้ยืมเงิน ช่วยค้ำประกันเงินกู้ เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้
เป้าหมาย  ยุติความยากจน ส่งเสริมความมั่งคั่งร่วมกัน



บทความโดย :
Dek-South East Asia

กฎหมายระหว่างประเทศเบื้องต้น



วิวัฒนาการของกฎหมาย 
1. กฎหมายชาวบ้าน (Volksrecht) 

      กฎหมายในยุคนี้ปรากฏออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ซึ่งมีองค์ประกอบสองประการคือ องค์ประกอบภายนอก คือต้องประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและเป็นเวลานมนาน ส่วนองค์ประกอบภายใน ได้แก่สิ่งที่ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอนั้นได้รับการยอมรับกันในชุมชนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง (opunio juris) ถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้นก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือนัยหนึ่งรู้สึกว่าจำเป็นต้องปฏิบัติเช่นนั้น (opinion necessitates) กฎหมายในยุคนี้จึงเริ่มจากกฎเกณฑ์ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีง่าย ๆ ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปเป็นกฎหมายที่ตกทอดกันมาแต่โบราณที่เรียกว่า กฎหมายที่ดีของบรรพบุรุษในยุคนี้มนุษย์ยังไม่สามารถแยกว่าศีลธรรมขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี กับกฎหมายว่าต่างกันอย่างไรจึงเรียกว่า กฎหมายชาวบ้าน (Volksrecht)” เพราะเป็นสิ่งที่รู้กันโดยชาวบ้านสามัญทั่วไป ใช้เหตุผลธรรมดาสามัญก็สามารถเข้าใจได้ ในยุคนี้ยังไม่มีนักกฎหมายที่เป็นวิชาชีพเอกเทศแยกจากประชาชนโดยทั่วไป ในสมัยต่อมาจึงค่อย ๆ วิวัฒนาการเป็นระบบกฎหมายที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ตัวอย่างของหลักกฎหมายในยุคนี้ เช่น การห้ามฆ่าคน ห้ามลักทรัพย์ของผู้อื่น เป็นต้น
2. ยุคกฎหมายนักกฎหมาย (Juristenrecht) 
    
      หรือหลักกฎหมายเป็นยุคที่กฎหมายเจริญขึ้นต่อจากยุคแรก ยุคแรกคนยังไม่สามารถแยกกฎหมายออกจากศีลธรรม แต่พอมาถึงยุคที่ 2 นี้ คนจะเริ่มมองเห็นว่ากฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างจากศีลธรรมและจารีตประเพณี โดยเฉพาะกฎหมายที่เป็นขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่สำคัญ ถ้าไปล่วงเกินเขาหากผู้ที่ถูกล่วงเกินไม่ยอมอยู่เฉยๆ ต่อมามีคนทำล่วงละเมิดกฎหมายที่สำคัญเหล่านี้มากขึ้นคนในชุมชนอาจไม่พอใจอย่างแรงต่อการกระทำนั้น เพราะรู้สึกว่าเป็นการกระทำสิ่งที่ชั่วร้ายเป็นความผิดจึงรวมหัวกันเข้าเพื่อกำราบผู้กระทำความผิดนี้ ไม่ใช่การแก้แค้นส่วนตัว แต่เป็นความรู้สึกร่วมกันของคนในกลุ่ม ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งชั่วร้าย และรวมหัวกันไปปราบปรามผู้กระทำผิด การกระทำดังกล่าวค่อยๆ พัฒนากลายเป็นกระบวนการยุติธรรมขึ้นมา การที่คนในชุมชนรู้สึกแค้นเคืองต่อการกระทำชั่วหรือความผิดที่เกิดขึ้นแล้วรวมตัวกันไปทำร้ายต่อผู้กระทำผิดเพื่อตอบสนองต่อความผิดเช่นนี้นับว่าเป็นการลงโทษในนามของชุมชนส่วนรวม กระบวนการบังคับตามกฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นที่เรียกว่า กระบวนการยุติธรรมนั่นเอง
            กระบวนการยุติธรรมหรือกระบวนการรักษาความเป็นธรรมมีอยู่ 2 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนการพิจารณาและชี้ขาดว่า ใครผิดใครถูก ขั้นตอนนี้เรียกว่า '“กระบวนการพิจารณาคดีและเมื่อชี้ขาดว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิดแล้วต่อมาเป็นขั้นตอนที่สองคือ การลงโทษผู้กระทำผิด ขั้นตอนนี้เรียกว่า กระบวนการบังคับคดีเมื่อกระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอในชุมชนนั้นจะมีอำนาจอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือ อำนาจตุลาการ
        จากการที่ชุมชนหนึ่งมีกระบวนการพิจารณาและบังคับคดีชุมชนนั้นก็จะเริ่ม การปกครองที่เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจนทำให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เจริญ เพราะมีการแบ่งงานในชุมชนนั้น เราจะเห็นว่าการปกครองเกิดขึ้นให้เห็นได้ชัดเจนในชุมชนใดก็ต่อเมื่อชุมชนนั้นมีกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะ กล่าวคือ มีกระบวนการชี้ขาดและบังคับคดีนี้เป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานานจนทำให้มีกฎเกณฑ์เกิดขึ้นใหม่ เป็นการเสริมกฎเกณฑ์เก่าที่มีอยู่ในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อเติมแต่งให้มีรายละเอียด เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดในคดีที่สลับซับซ้อน เมื่อตัดสินคดีไปหลายคดี ข้อที่เคยปฏิบัติในการพิจารณาคดีก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกฎเกณฑ์ กฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้เราเรียกว่า กฎหมายนักกฎหมาย (Juristenrecht)”
  3. ยุคกฎหมายเทคนิค (Technical Law) 

      เมื่อสังคมเจริญขึ้น การติดต่อระหว่างคนในสังคมมีมากขึ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซับซ้อนยิ่งขึ้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตก็มีมากขึ้น ทำให้มีข้อขัดแย้งในสังคมมากขึ้น กฎเกณฑ์ที่เป็นแต่ขนบธรรมเนียมประเพณีไม่เพียงพอ จึงจำต้องมีกฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นมาทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น กฎจราจร แต่ก่อนไทยใช้เกวียน เห็นเกวียนมาก็หลีกกันเองได้โดยไม่ต้องถูกกำหนดให้เดินซ้ายเดินขวา เพราะมันเดินไม่เร็ว คันนี้ไปซ้าย อีกคันก็ไปขวา ไม่มีอันตราย จะซ้ายก็ได้จะขวาก็ได้ แต่ถ้าเมื่อมีการประดิษฐ์รถยนต์ขึ้นมาแล้วจะให้เดินสวนทางแบบเกวียนก็อาจชนกันตาย เพราะฉะนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ใหม่ คือ รถยนต์เกิดขึ้นจะใช้กฎจราจรแบบเกวียนไม่ได้ จำเป็นต้องตั้งกฎจราจรขึ้นมา ในประเทศไทยตั้งกฎจราจรบังคับใช้แบบในประเทศอังกฤษ ขับรถชิดซ้ายต่างจากประเทศในภาคพื้นยุโรป บังคับให้ขับรถชิดขวา
        กฎเกณฑ์แบบนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง บางอย่างไม่เกี่ยวกับศีลธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี และไม่เกี่ยวกับหลักกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่ชุมชนจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาทันทีทันใดเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบางอย่าง กฎหมายที่ถูกตั้งขึ้นมานี้เรียกว่า กฎหมายเทคนิคเทคนิคคือวิธีการที่จะทำอะไรบางอย่างให้เกิดผลตามที่ตั้งใจไว้ วิธีการนำไปสู่ผลที่ต้องการอย่างนี้เรียกว่าเป็น เทคนิคกฎหมายแบบนี้บัญญัติขึ้นมาเพื่อก่อให้เกิดผลเฉพาะเจาะจงบางอย่าง กฎจราจรต้องการให้เกิดความปลอดภัยและความสะดวกในการจราจร ไม่ใช่ว่าขับรถทางซ้ายเป็นคนดี ขับรถทางขวาเป็นคนไม่ดี ไม่ใช่เรื่องดีชั่วในตัวเอง แต่เป็นเรื่องผิดถูกเพราะเขากำหนดไว้อย่างนี้แล้วไม่ทำก็ผิด ในสมัยโบราณก็อาจจะมีอยู่ เช่น ชนเผ่าที่เร่ร่อนไม่มีที่อยู่ อยู่ที่ไหนต้องเผชิญภัยพิบัติต่างๆ จึงต้องกำหนดหน้าที่ชายฉกรรจ์บางจำพวกให้ตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนมาก่อไฟและตั้งเป็นเวรยามไว้เมื่อเห็นภัยจะได้ขับไล่ต่อสู้ สิ่งที่กำหนดขึ้นมานี้ไม่ใช่เรื่องศีลธรรมแต่เป็นความจำเป็นตามสถานการณ์ของสังคมนั้นที่จะต้องทำ ซึ่งกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเช่นนี้เรียกว่า กฎหมายเทคนิค (Technical Law)”
กฎหมายภายในประเทศ คือ กฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ หรือบุคคลต่างด้าว
กฎหมายระหว่างประเทศ คือ หลักกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่โดยจารีตประเพณี หรือโดยการตราหลักกฎหมายทั่วไป โดยนานาอารยประเทศหรือความตกลงระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศ คือ หลักกฎหมายหรือข้อตกลงที่มีร่วมกันเพื่อใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างประเทศ โดยกฎหมายระหว่างประเทศเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณก่อนคริสตกาล และวิวัฒนาการมาเรื่อยๆด้วยการยึดหลักปฏิบัติต่อกันทั้งด้านจารีตประเพณี สนธิสัญญา จนมากลายเป็นแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นมา
กล่าวสรุปได้ว่า เป็นกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อให้ประเทศต่างๆสามารถดำเนินการติดต่อสัมพันธ์กันให้เป็นไปตามกฎที่กำหนดหรืออยู่ในกรอบข้อตกลงยินยอมระหว่างกันไม่ว่าในยามปกติ หรือเกิดภาวะสงคราม ซึ่งจะมีความแตกต่างกับกฎหมายภายในประเทศ  ซึ่งหากจะว่าไปจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ คือความยินยอมที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของเหล่าบรรดาประเทศต่างๆ โดยมาจาก 2 ทางคือ
1.       จารีตประเพณี คือ การที่รัฐยินยอมให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในระยะเวลายาวนานพอสมควร จนกลายเป็นกฎเกณฑ์ที่มีความผูกพันโดยไม่จำเป็นต้องมีลายลักษณ์อักษรมาเป็นข้อกำหนด
2.       สนธิสัญญา การที่ทำข้อตกลงระหว่างกันของรัฐอย่างชัดเจนและเปิดเผย รวมทั้งมีการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อให้มีการบังคับปฏิบัติเฉพาะคู่สัญญา

กม.ภายใน
กม.ระหว่างประเทศ
เกิดจากขนบธรรมเนียมภายในอาณาเขตของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือถูกตราขึ้นโดยสถาบันนิติบัญญัติของประเทศนั้นๆ
เกิดขึ้นจากจากธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันระหว่างประเทศหรือโดยสนธิสัญญา
1.       กฎหมายในประเทศจะบังคับความเกี่ยวข้องกันระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือระหว่างเอกชนด้วยกัน
กฎหมายระหว่างประเทศสามารถใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างกัน
มีผลบังคับใช้ภายในประเทศ
มีผลบังคับใช้กับประเทศที่เป็นประเทศสมาชิกหรือรัฐที่เป็นภาคี
มีการลงโทษที่ระบุไว้อย่างชัดเจน
ไม่มีโทษ อาจจะเป็นเพียงการ Boycott /คว่ำบาตร/กีดกันการค้า/อื่นๆ
เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
ส่วนใหญ่เป็นลายลักษณ์อักษร
สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางสังคม โดยไม่ขัดแย้งกับศาสนา ศีลธรรมหรือประเพณี
มีการวางกฎเกณฑ์ที่คำนึงถึงการร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน




บทความโดย :
Dek-South East Asia