หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สาขาของกฎหมายระหว่างประเทศ





กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้กำหนดให้รัฐใดมีอำนาจเหนืออีกรัฐหนึ่ง แต่เป็นการจรรโลงความสัมพันธ์ระหว่างอธิปไตยไว้ ส่วนการใช้อำนาจบังคับของกฎหมายนั้น บางครั้งกฎหมายระหว่างประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายในประเทศ แต่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะไม่ยอมรับไม่นำเอากฎหมายภายในประเทศใดประเทศหนึ่งมาเป็นหลักในการพิจารณาคดีพิพาทระหว่างประเทศโดยเป็นอันขาด
สาขาของกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่
1.       กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง  (Public International Law) คือ เป็นบทบัญญัติที่บัญญัติขึ้นมาใช้ควบคุมบังคับกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐอันเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่การเมืองการปกครองระหว่างประเทศที่จะพึงปฏิบัติต่อกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ และเรื่องที่รัฐต่อรัฐมีความสัมพันธ์ที่จะพึงปฏิบัติต่อกันนั้น เช่น เรื่องของอาณาเขตดินแดน (คดีปราสาทเขาพระวิหาร) การแบ่งปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล เคารพสิทธิของกันและกันในเรื่องของดินแดน เรื่องทางการทูต การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตหรือทูตระหว่างประเทศ เรื่องสิทธิในทางการทูต การทำสนธิสัญญา และการทำสงคราม  เป็นต้น
2.       กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Private International Law) เป็นกฎหมายที่นำมาบังคับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ถือว่าเป็นพลเมืองของรัฐในทางแพ่ง เช่น เรื่องการสมรส การหย่า การได้สัญชาติ หรือการสูญเสียสัญชาติ เป็นต้น
3.       กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา (Criminal International Law) เป็นกฎหมายที่นำมากำหนดด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในคดีอาญา เมื่อพลเมืองของรัฐมีการกระทำผิดกฎหมายอาญา เช่น การกำหนดอำนาจที่จะใช้บังคับและปฏิบัติต่อชาวต่างประเทศ หรือการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน จึงต้องใช้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญานี้มาควบคุม เพราะการที่จะลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญาแล้วหลบหนีไปรัฐอื่นนั้นเป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจรัฐ ฉะนั้นเพื่อป้องกันปราบปรามคดีอาญาดังกล่าวรัฐต่าง ๆ จะต้องทำสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อกันได้ เพื่อสะดวกในการนำผู้กระทำผิดนั้นมาลงโทษตามความผิดนั้น ๆ

**เพิ่มเติม
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  (International Humanitarian Law : IHL) เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศจากเดิมเรียกกันว่า กฎหมายระหว่างประเทศยามสงคราม หรือ กฎหมายสงคราม” กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีจุดประสงค์ที่จะมุ่งส่งเสริมคุณค่า  อันเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเริ่มต้นจากความพยายามของนายอังรีดูนังต์และคณะที่จะหาทางลดภาวะทุกข์ทรมานอันน่าสะพรึงกลัวที่เกิดกับทหารและพลเรือน  จากการสู้รบระหว่างคู่สงคราม  พวกเขาได้รณรงค์เป็นเวลานานจนรัฐต่างๆ  เห็นความสำคัญของปัญหาทำให้สาระสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกป้องคุ้มครอง  และดูแลพลเรือนของประเทศคู่สงคราม เช่น ห้ามการใช้อาวุธและวิธีการทำการสู้รบซึ่งมีลักษณะการทำลายล้างอย่างมหาศาล  ก่อให้เกิดความสูญเสียโดยไม่จำเป็นหรือความทุกข์ทรมานเกินไป เช่น การใช้อาวุธเคมี การใช้อาวุธชีวภาพ อาวุธนิวเคลียร์ ห้ามกระทำการรุนแรงหรือคุกคามว่าจะทำการรุนแรงเพื่อให้ประชาชนหวาดกลัว เป็นต้น  ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ดังนี้
1.การเคารพชีวิตทหารและพลเรือน 2.การเคารพสัญลักษณ์กาชาด 3.ห้ามทำร้ายคนที่วางอาวุธ 4.ช่วยคนบาดเจ็บ รักษาพยาบาล 5.การแบ่งเขตระหว่างทหารและพลเรือน 6.การจำกัดวิธีการทำสงคราม
กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (International Human Rights Law : IHRL) ก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายที่ว่ามุ่งมั่นส่งเสริมการเคารพสิทธิ และอิสรภาพ ซึ่งสิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจำแนกกว้างๆ ได้เป็น ส่วนคือ สิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพและความมั่นคงของบุคคล อิสรภาพจากความเป็นทาสและการถูกทรมาน ความเสมอภาคในทางกฎหมาย สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เสรีภาพในทางความคิด การนับถือศาสนา การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ส่วนอีกด้านหนึ่งคือสิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงสิทธิในการทำงาน สิทธิทางการศึกษา สิทธิทางอาหาร และสิทธิที่จะได้รับบริการทางด้านสาธารณสุข เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะของสิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนคือ
1.       เป็นสิทธิที่ติดตัวมากับความเป็นมนุษย์ (inherent) หมายถึงเมื่อคนเกิดมาก็มีสิทธิมนุษยชนติดตัวมาด้วย
2.       เป็นสิทธิที่เป็นสากล (universal) คือเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนเหมือนกันไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ เพศ หรือนับถือศาสนาใด ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มาจากพื้นฐานสังคมหรือการเมืองอย่างใด มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสรเสรี มีความเท่าเทียมกันในสิทธิและศักดิ์ศรี
3.       เป็นสิทธิที่ไม่สามารถถูกพรากไป หรือยกให้แก่กันได้ (inalienable) คือไม่มีใครจะมาพรากเอาสิทธิมนุษยชนไปจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ ถึงแม้ว่ากฎหมายของประเทศ จะไม่ยอมรับรองสิทธิมนุษยชน หรือแม้จะละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม ประชาชนของประเทศนั้นก็ยังมีสิทธิมนุษยชนอยู่
4.       เป็นสิทธิที่ไม่ถูกแยกออกจากกัน (indivisible) กล่าวคือ สิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งประกอบด้วยสิทธิสองส่วนคือ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมนั้น จะต้องไม่ถูกแยกออกจากกัน สิทธิทั้งสองส่วนนี้จะต้องได้รับการเคารพ ปกป้อง และเติมเต็ม (ทำให้เกิดขึ้น) เพื่อที่จะให้บุคคลทุกคนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

นอกจากนั้นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ระบุหลักการที่สำคัญไว้ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติคือ หลักความเสมอภาค (Equality) และการไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination) ซึ่งหมายถึงการที่ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง สถานภาพทางการเกิดหรือสถานภาพอื่นๆ

****ยกตัวอย่างองค์กรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศ
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง The Greater Mekong Subregion (GMS) 
เป็นความร่วมมือของ ๖ ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) เช่น การสนับสนุนเงินทุนสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ ช่วยเหลือการก่อสร้างเส้นทาง และสร้างเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเล
-การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ – เชื่อมโยงไทย-พม่าลาว-จีน
-การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก– เชื่อมโยงพม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม                         -
-การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ – เชื่อมโยง ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม
-ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
-ความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน
-ความร่วมมือด้านพลังงาน ความร่วมมือด้านโทรคมนาคม ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


องค์การการค้าโลกหรือ World Trade Organization (WTO) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศดำเนินไปบนพื้นฐานการค้าเสรีรักษาระเบียบการค้าระหว่างประเทศ ที่ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม เพราะมีความเชื่อว่าการค้าระหว่างประเทศโดยเสรีทำให้มีการผลิตตามความถนัดหรือผลิตตามความชำนาญเฉพาะอย่าง และนำไปสู่การขยายตัวการสร้างงาน การค้า การลงทุน ตลอดจนสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งก่อให้เกิดเสถียรภาพและสันติภาพของโลกในที่สุด
            WTO มีหน้าที่สำคัญ ประการ ได้แก่ (1) การดูแลและกำกับให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปตามข้อตกลงพหุภาคี (MTA) โดยไม่เลือกปฏิบัติและมีความโปร่งใส (2) การอำนวยความสะดวกในการเจรจาระหว่างประเทศภาคี เพื่อประโยชน์ทางการค้าแบบพหุภาคี รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอตลอดจนทำการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญๆ (3) เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างสมาชิก และหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการจัดตั้งคณะผู้พิจารณา (Panel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งมีกลไกยุติข้อพิพาททางการค้าด้วย และ (4) การบริหารกลไกการทบทวนนโยบายการค้าของประเทศภาคี


ธนาคารโลก (World Bank) หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
หน้าที่ ให้กู้ยืมเงิน ช่วยค้ำประกันเงินกู้ เป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้
เป้าหมาย  ยุติความยากจน ส่งเสริมความมั่งคั่งร่วมกัน



บทความโดย :
Dek-South East Asia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น