หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

กฎหมายระหว่างประเทศเบื้องต้น



วิวัฒนาการของกฎหมาย 
1. กฎหมายชาวบ้าน (Volksrecht) 

      กฎหมายในยุคนี้ปรากฏออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ซึ่งมีองค์ประกอบสองประการคือ องค์ประกอบภายนอก คือต้องประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและเป็นเวลานมนาน ส่วนองค์ประกอบภายใน ได้แก่สิ่งที่ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอนั้นได้รับการยอมรับกันในชุมชนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง (opunio juris) ถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้นก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือนัยหนึ่งรู้สึกว่าจำเป็นต้องปฏิบัติเช่นนั้น (opinion necessitates) กฎหมายในยุคนี้จึงเริ่มจากกฎเกณฑ์ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีง่าย ๆ ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปเป็นกฎหมายที่ตกทอดกันมาแต่โบราณที่เรียกว่า กฎหมายที่ดีของบรรพบุรุษในยุคนี้มนุษย์ยังไม่สามารถแยกว่าศีลธรรมขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี กับกฎหมายว่าต่างกันอย่างไรจึงเรียกว่า กฎหมายชาวบ้าน (Volksrecht)” เพราะเป็นสิ่งที่รู้กันโดยชาวบ้านสามัญทั่วไป ใช้เหตุผลธรรมดาสามัญก็สามารถเข้าใจได้ ในยุคนี้ยังไม่มีนักกฎหมายที่เป็นวิชาชีพเอกเทศแยกจากประชาชนโดยทั่วไป ในสมัยต่อมาจึงค่อย ๆ วิวัฒนาการเป็นระบบกฎหมายที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ตัวอย่างของหลักกฎหมายในยุคนี้ เช่น การห้ามฆ่าคน ห้ามลักทรัพย์ของผู้อื่น เป็นต้น
2. ยุคกฎหมายนักกฎหมาย (Juristenrecht) 
    
      หรือหลักกฎหมายเป็นยุคที่กฎหมายเจริญขึ้นต่อจากยุคแรก ยุคแรกคนยังไม่สามารถแยกกฎหมายออกจากศีลธรรม แต่พอมาถึงยุคที่ 2 นี้ คนจะเริ่มมองเห็นว่ากฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างจากศีลธรรมและจารีตประเพณี โดยเฉพาะกฎหมายที่เป็นขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่สำคัญ ถ้าไปล่วงเกินเขาหากผู้ที่ถูกล่วงเกินไม่ยอมอยู่เฉยๆ ต่อมามีคนทำล่วงละเมิดกฎหมายที่สำคัญเหล่านี้มากขึ้นคนในชุมชนอาจไม่พอใจอย่างแรงต่อการกระทำนั้น เพราะรู้สึกว่าเป็นการกระทำสิ่งที่ชั่วร้ายเป็นความผิดจึงรวมหัวกันเข้าเพื่อกำราบผู้กระทำความผิดนี้ ไม่ใช่การแก้แค้นส่วนตัว แต่เป็นความรู้สึกร่วมกันของคนในกลุ่ม ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งชั่วร้าย และรวมหัวกันไปปราบปรามผู้กระทำผิด การกระทำดังกล่าวค่อยๆ พัฒนากลายเป็นกระบวนการยุติธรรมขึ้นมา การที่คนในชุมชนรู้สึกแค้นเคืองต่อการกระทำชั่วหรือความผิดที่เกิดขึ้นแล้วรวมตัวกันไปทำร้ายต่อผู้กระทำผิดเพื่อตอบสนองต่อความผิดเช่นนี้นับว่าเป็นการลงโทษในนามของชุมชนส่วนรวม กระบวนการบังคับตามกฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นที่เรียกว่า กระบวนการยุติธรรมนั่นเอง
            กระบวนการยุติธรรมหรือกระบวนการรักษาความเป็นธรรมมีอยู่ 2 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนการพิจารณาและชี้ขาดว่า ใครผิดใครถูก ขั้นตอนนี้เรียกว่า '“กระบวนการพิจารณาคดีและเมื่อชี้ขาดว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิดแล้วต่อมาเป็นขั้นตอนที่สองคือ การลงโทษผู้กระทำผิด ขั้นตอนนี้เรียกว่า กระบวนการบังคับคดีเมื่อกระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอในชุมชนนั้นจะมีอำนาจอย่างหนึ่งเกิดขึ้นคือ อำนาจตุลาการ
        จากการที่ชุมชนหนึ่งมีกระบวนการพิจารณาและบังคับคดีชุมชนนั้นก็จะเริ่ม การปกครองที่เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจนทำให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เจริญ เพราะมีการแบ่งงานในชุมชนนั้น เราจะเห็นว่าการปกครองเกิดขึ้นให้เห็นได้ชัดเจนในชุมชนใดก็ต่อเมื่อชุมชนนั้นมีกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นกิจจะลักษณะ กล่าวคือ มีกระบวนการชี้ขาดและบังคับคดีนี้เป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานานจนทำให้มีกฎเกณฑ์เกิดขึ้นใหม่ เป็นการเสริมกฎเกณฑ์เก่าที่มีอยู่ในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อเติมแต่งให้มีรายละเอียด เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดในคดีที่สลับซับซ้อน เมื่อตัดสินคดีไปหลายคดี ข้อที่เคยปฏิบัติในการพิจารณาคดีก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกฎเกณฑ์ กฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้เราเรียกว่า กฎหมายนักกฎหมาย (Juristenrecht)”
  3. ยุคกฎหมายเทคนิค (Technical Law) 

      เมื่อสังคมเจริญขึ้น การติดต่อระหว่างคนในสังคมมีมากขึ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซับซ้อนยิ่งขึ้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตก็มีมากขึ้น ทำให้มีข้อขัดแย้งในสังคมมากขึ้น กฎเกณฑ์ที่เป็นแต่ขนบธรรมเนียมประเพณีไม่เพียงพอ จึงจำต้องมีกฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นมาทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น กฎจราจร แต่ก่อนไทยใช้เกวียน เห็นเกวียนมาก็หลีกกันเองได้โดยไม่ต้องถูกกำหนดให้เดินซ้ายเดินขวา เพราะมันเดินไม่เร็ว คันนี้ไปซ้าย อีกคันก็ไปขวา ไม่มีอันตราย จะซ้ายก็ได้จะขวาก็ได้ แต่ถ้าเมื่อมีการประดิษฐ์รถยนต์ขึ้นมาแล้วจะให้เดินสวนทางแบบเกวียนก็อาจชนกันตาย เพราะฉะนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ใหม่ คือ รถยนต์เกิดขึ้นจะใช้กฎจราจรแบบเกวียนไม่ได้ จำเป็นต้องตั้งกฎจราจรขึ้นมา ในประเทศไทยตั้งกฎจราจรบังคับใช้แบบในประเทศอังกฤษ ขับรถชิดซ้ายต่างจากประเทศในภาคพื้นยุโรป บังคับให้ขับรถชิดขวา
        กฎเกณฑ์แบบนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง บางอย่างไม่เกี่ยวกับศีลธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี และไม่เกี่ยวกับหลักกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่ชุมชนจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาทันทีทันใดเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบางอย่าง กฎหมายที่ถูกตั้งขึ้นมานี้เรียกว่า กฎหมายเทคนิคเทคนิคคือวิธีการที่จะทำอะไรบางอย่างให้เกิดผลตามที่ตั้งใจไว้ วิธีการนำไปสู่ผลที่ต้องการอย่างนี้เรียกว่าเป็น เทคนิคกฎหมายแบบนี้บัญญัติขึ้นมาเพื่อก่อให้เกิดผลเฉพาะเจาะจงบางอย่าง กฎจราจรต้องการให้เกิดความปลอดภัยและความสะดวกในการจราจร ไม่ใช่ว่าขับรถทางซ้ายเป็นคนดี ขับรถทางขวาเป็นคนไม่ดี ไม่ใช่เรื่องดีชั่วในตัวเอง แต่เป็นเรื่องผิดถูกเพราะเขากำหนดไว้อย่างนี้แล้วไม่ทำก็ผิด ในสมัยโบราณก็อาจจะมีอยู่ เช่น ชนเผ่าที่เร่ร่อนไม่มีที่อยู่ อยู่ที่ไหนต้องเผชิญภัยพิบัติต่างๆ จึงต้องกำหนดหน้าที่ชายฉกรรจ์บางจำพวกให้ตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนมาก่อไฟและตั้งเป็นเวรยามไว้เมื่อเห็นภัยจะได้ขับไล่ต่อสู้ สิ่งที่กำหนดขึ้นมานี้ไม่ใช่เรื่องศีลธรรมแต่เป็นความจำเป็นตามสถานการณ์ของสังคมนั้นที่จะต้องทำ ซึ่งกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเช่นนี้เรียกว่า กฎหมายเทคนิค (Technical Law)”
กฎหมายภายในประเทศ คือ กฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ หรือบุคคลต่างด้าว
กฎหมายระหว่างประเทศ คือ หลักกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่โดยจารีตประเพณี หรือโดยการตราหลักกฎหมายทั่วไป โดยนานาอารยประเทศหรือความตกลงระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศ คือ หลักกฎหมายหรือข้อตกลงที่มีร่วมกันเพื่อใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างประเทศ โดยกฎหมายระหว่างประเทศเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณก่อนคริสตกาล และวิวัฒนาการมาเรื่อยๆด้วยการยึดหลักปฏิบัติต่อกันทั้งด้านจารีตประเพณี สนธิสัญญา จนมากลายเป็นแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นมา
กล่าวสรุปได้ว่า เป็นกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อให้ประเทศต่างๆสามารถดำเนินการติดต่อสัมพันธ์กันให้เป็นไปตามกฎที่กำหนดหรืออยู่ในกรอบข้อตกลงยินยอมระหว่างกันไม่ว่าในยามปกติ หรือเกิดภาวะสงคราม ซึ่งจะมีความแตกต่างกับกฎหมายภายในประเทศ  ซึ่งหากจะว่าไปจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ คือความยินยอมที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของเหล่าบรรดาประเทศต่างๆ โดยมาจาก 2 ทางคือ
1.       จารีตประเพณี คือ การที่รัฐยินยอมให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในระยะเวลายาวนานพอสมควร จนกลายเป็นกฎเกณฑ์ที่มีความผูกพันโดยไม่จำเป็นต้องมีลายลักษณ์อักษรมาเป็นข้อกำหนด
2.       สนธิสัญญา การที่ทำข้อตกลงระหว่างกันของรัฐอย่างชัดเจนและเปิดเผย รวมทั้งมีการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อให้มีการบังคับปฏิบัติเฉพาะคู่สัญญา

กม.ภายใน
กม.ระหว่างประเทศ
เกิดจากขนบธรรมเนียมภายในอาณาเขตของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือถูกตราขึ้นโดยสถาบันนิติบัญญัติของประเทศนั้นๆ
เกิดขึ้นจากจากธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันระหว่างประเทศหรือโดยสนธิสัญญา
1.       กฎหมายในประเทศจะบังคับความเกี่ยวข้องกันระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือระหว่างเอกชนด้วยกัน
กฎหมายระหว่างประเทศสามารถใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างกัน
มีผลบังคับใช้ภายในประเทศ
มีผลบังคับใช้กับประเทศที่เป็นประเทศสมาชิกหรือรัฐที่เป็นภาคี
มีการลงโทษที่ระบุไว้อย่างชัดเจน
ไม่มีโทษ อาจจะเป็นเพียงการ Boycott /คว่ำบาตร/กีดกันการค้า/อื่นๆ
เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
ส่วนใหญ่เป็นลายลักษณ์อักษร
สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางสังคม โดยไม่ขัดแย้งกับศาสนา ศีลธรรมหรือประเพณี
มีการวางกฎเกณฑ์ที่คำนึงถึงการร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน




บทความโดย :
Dek-South East Asia



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น