หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562

กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ

ที่มาภาพ : http://live.siammedia.org/index.php/news/usa-news/45191

กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ

ในอดีตการระงับข้อพิพาททางกฎหมายมีอยู่ 2 วิธีคือ การทำสงครามและสันติวิธี แต่ในปัจจุบันการระงับข้อพิพาทโดยการทำสงคราม ได้มีการห้ามไว้ในสนธิสัญญาปารีสฉบับปี 1928  โดยระบุถึงการยกเลิกการทำสงครามรุกรานและห้ามใช้สงครามเป็นตราศาลนโยบายแห่งชาติ เว้นแต่ในกรณีที่จะป้องกันตนเองเท่านั้น โดยวิธีการระงับข้อพิพาทในปัจจุบันที่เป็นที่ยอมรับกัน คือ การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

      1.   การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่ไม่มีลักษณะทางตุลาการ หรือ วิธีทางการทูต ซึ่งวิธีนี้รัฐสามารถเข้ามาระงับข้อพิพาทกันเองได้ โดยใช้วิธีการเจรจา การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม เป็นต้น
-การใช้วิธีเจรจา
-การไกล่เกลี่ย Mediation or Good Office  ฝ่ายที่สามเข้ามามีส่วนร่วม ข้อเสนอไม่ผูกพันกับข้อพิพาท ฝ่ายที่สาม (บุคคลหนึ่งคน หรือหลายบุคคล รัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ) เข้ามาเอื้ออำนวยให้คู่กรณีเจรจากันเพื่อระงับข้อพิพาท mediation มีนัยว่าฝ่ายที่สามเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาด้วย  ในขณะที่ good offices เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายที่สามพยายามจัดให้คู่กรณีเจรจากัน

-การประนีประนอม  Conciliation ผู้ประนีประนอมต้องเข้าร่วมด้วย แต่ต้องหาข้อเท็จจริง

2.  การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่มีลักษณะทางตุลาการ หรือ วิธีศาล ในกรณีนี้สามารถทำได้  2 วิธี คือ การใช้อนุญาโตตุลาการในการตัดสิน และ การใช้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการตัดสิน


ที่มาภาพ : https://epthinktank.eu/tag/isds/

การใช้อนุญาโตตุลาการในการตัดสิน

การอนุญาโตตุลาการ เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทวิธีหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความสมัครใจของคู่พิพาทตกลงกัน ให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างกัน โดยคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จะมีผลผูกพันให้คู่พิพาทต้องปฏิบัติตาม สัญญาที่สามารถระงับได้โดยการอนุญาโตตุลาการ การทำสัญญานั้นไม่ว่าจะเป็นสัญญาด้านการค้าและการลงทุน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญารับเหงาก่อสร้าง สัญญาประกันภัย สัญญาเกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัท เป็นต้น หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น คู่สัญญาสามารถตกลงด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการ โดยอาจทำเป็นข้อสัญญาหนึ่งในสัญญาหลักหรือเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการแยกต่างหากก็ได้ เมื่อมีข้อสัญญาแล้วคู่พิพาทก็ดำเนินการดำเนินข้อพิพาทได้ โดยอนุญาโตตุลาการที่ได้รับการเสนอชื่อและแต่งตั้งต้องมีความอิสระและเป็นกลาง รวมถึงมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

**กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน ISDS

โดยหลักการแล้วกลไกนี้มีไว้เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติว่า เมื่อเขาเข้ามาลงทุนในประเทศของเราแล้ว รัฐบาลของเราจะไม่ไปรังแกเขา เมื่อเขามั่นใจมากขึ้นก็จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนจากสหภาพยุโรปหอบเงินลงทุนมาตั้งโรงงานในไทย ถ้าอยู่ๆ รัฐของเราไปเขา เขาก็สามารถไปฟ้องร้องได้ แต่เขาอาจจะไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของเราหรืออยากให้เรื่องจบเร็วๆ ก็ไปฟ้องผ่านกลไกล ISDS นี้ได้โดยไม่ต้องผ่านศาลไทยและไม่เสียเวลาด้วย ซึ่งวิธีการก็คือ การไปใช้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ที่มีเงื่อนไขว่าการตัดสินใจของอนุญาโตตุลาการถือเป็นที่สิ้นสุด คู่กรณีต้องทำตามไม่ว่าผลนั้นจะเป็นอย่างไร โดยกลไกอนุญาโตตุลาการนี้จะเป็นการตัดสินใจของคนสามคน ประกอบด้วย นักลงทุน 1 คน รัฐบาล 1 คนและคนที่สามก็คือคนที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน ทั้งสามคนนี้จะเป็นผู้ตัดสิน โดยประชุมลับกัน ศึกษาตัวสัญญา แล้วตัดสินว่ารัฐบาลผิดหรือไม่ และถ้าผิดแล้วจะต้องถูกลงโทษอย่างไร จ่ายค่าเสียหายเท่าไหร่


ที่มาภาพ : http://popcornfor2.com/content/เปิดคำแถลงด้วยวาจาของกัมพูชาต่อศาลโลก-คดีปราสาทพระวิหาร-news-31777

การใช้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการตัดสิน

ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก จัดตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติ มีเขตอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในศาลรัฐธรรมนูญระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่
1.       ตัดสินคดีข้อพิพาทระหว่างรัฐบาล รัฐภาคี ที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหรือ UN และเป็นประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก
2.       การวินิจฉัย ตีความและให้คำปรึกษา ในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายให้แก่องค์การระหว่างประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก

       การเข้ามามีบทบาทของศาลโลก ศาลโลกจะเข้ามามีบทบาทเมื่อเกิดข้อพิพาทตั้งสองประเทศขึ้นไป ยกตัวอย่างเรื่องข้อพิพาทของดินแดนและอาณาเขตของรัฐ การละเมิดอำนาจของรัฐ เช่น กรณีข้อพาทปราสาทเขาพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา โดยข้อพิพาทนี้ได้นำขึ้นสู่ศาลโลกโดยได้รับคำยินยอมของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมอำนาจของศาลให้เป็นผู้ตัดสินพิจารณาคดีนั้นก่อน ศาลจึงจะมีอำนาจในการพิจารณาตัดสินคดีนั้น และศาลโลกจะมีหน้าที่ในการพิจารณาเฉพาะเรื่องที่เป็นประเด็นระหว่างประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ศาลโลกยังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้ความเห็น เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ผลของคำวินิจฉัยของศาลโลก ย่อมมีผลผูกพันกับคู่พิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นที่พิพาทนั้นและถือเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุธรใดๆ








บทความโดย : Dek-South East Asia

กฎบัตรอาเซียน


ที่มาภาพ : http://aec-business.blogspot.com/2013/06/asean-charter.html


กฎบัตรอาเซียน

     เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน ประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิก ปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเซียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้  ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน


โครงสร้างและสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
          กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
          หมวดที่ 1   ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
          หมวดที่ 2   สภาพบุคคลตามกฎหมาย
          หมวดที่   รัฐสมาชิก ( ว่าด้วย สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่)
          หมวดที่ 4   โครงสร้างองค์กรของอาเซียน (ว่าด้วยการประชุมสุดยอด / คณะมนตรีประสานงานอาเซียน / คณะมนตรีอาเซียน / เลขาธิการอาเซียน / คณะกรรมการผู้แทนถาวรอาเซียน/สำนักงานเลขาธิการอาเซียน/ องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน และมูลนิธิอาเซียน)
          หมวดที่ 5   องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
          หมวดที่ 6   การคุ้มกันและเอกสิทธิ์ของอาเซียน  (ของเลขาธิการ/ของผู้แทนถาวร/ของพนักงาน สนง.อาเซียน)
          หมวดที่   กระบวนการตัดสินใจ (เกี่ยวกับการปรึกษาหารือ / การได้มาซึ่งฉันทามติ)
          หมวดที่   การระงับข้อพิพาท
          หมวดที่ 9   งบประมาณและการเงิน
          หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงานของอาเซียน (ประธานอาเซียน/บทบาทของประธาน / ภาษาที่ใช้ /พิธีการทูต)
          หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน (คำขวัญ / ธงอาเซียน / ดวงตราอาเซียน / วันอาเซียน / เพลงอาเซียน)
          หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก ( การสัมพันธ์กับภาคีต่างๆ / กับคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม / กับคณะกรรมการอาเซียนในองค์การระหว่างประเทศ / กับองค์การสหประชาชาติ / กับประเทศอื่นๆ)
          หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย (เกี่ยวกับการลงนาม / การให้สัตยาบัน / การแก้ไข / การตีความ / สินทรัพย์ของอาเซียน)



ที่มาบทความ : http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20121203-180519-958411.pdf

อาเซียน : ในฐานะองค์การระหว่างประเทศ


ที่มาภาพ : https://www.matichon.co.th/foreign/news_1521944



อาเซียน เป็นองค์การระหว่างประเทศ เนื่องจากว่าอาเซียนมีฐานะที่เรียกว่า ผู้ทรงสิทธิระหว่างประเทศ โดยผู้ทรงสิทธิระหว่างประเทศ คือ บุคคลที่ได้รับการรับรองว่ามีสภาพบุคคลในทางระหว่างประเทศมีความสามารถที่จะถือสิทธิและมีหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ตามกฎบัตรอาเซียน ข้อ 3 สภาพบุคคลตามกฎหมายของอาเซียน ในฐานะองค์การระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ได้รับสภาพบุคคลตามกฎหมายโดยกฎบัตรนี้ ซึ่งผลของการมีสภาพบุคคลในทางระหว่างประเทศ ประกอบด้วย

1) สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ  ตามกฎบัตรอาเซียน ข้อ 42 ผู้ประสานงานกับคู่เจรจา ในฐานะผู้ประสานงานประเทศ ให้รัฐสมาชิกผลัดกันรับผิดชอบในภาพรวม สำหรับการประสานงานและส่งเสริมผลประโยชน์ของอาเซียนใน
ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

2) ความสามารถในการเรียกร้องประโยชน์จากสิทธิ  ตามกฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท

3) มีความสามารถในแง่นิติสัมพันธ์ ตามกฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์ภายนอก
ข้อ 41 การดำเนินความสัมพันธ์ภายนอก  อาเซียนต้องพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตร และช่องทางเจรจา ความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน กับนานาประเทศ อาเซียนต้องยึดมั่นในความมุ่งประสงค์และหลักการที่วางไว้ในกฎบัตรนี้
ข้อ 42 ผู้ประสานงานกับคู่เจรจา ในฐานะผู้ประสานงานประเทศ ให้รัฐสมาชิกผลัดกันรับผิดชอบในภาพรวมสำหรับการประสานงานและส่งเสริมผลประโยชน์ของอาเซียนในความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา องค์การและสถาบันระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 43 คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามและองค์การระหว่างประเทศ คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามอาจจัดตั้งขึ้นในประเทศที่มิใช่สมาชิกอาเซียน ประกอบด้วยหัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตของรัฐสมาชิกอาเซียน คณะกรรมการในลักษณะเดียวกันอาจจัดตั้งขึ้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ คณะกรรมการ เช่นว่าต้องส่งเสริมผลประโยชน์และอัตลักษณ์ของอาเซียนในประเทศเจ้าภาพและองค์การระหว่างประเทศ
ข้อ 44 สถานภาพของภาคีภายนอก ในการดำเนินความสัมพันธ์ภายนอกของอาเซียน ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอาจมอบสถานภาพอย่างเป็นทางการให้แก่ภาคีภายนอกในฐานะประเทศคู่เจรจา ประเทศคู่เจรจาเฉพาะสาขา หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ผู้สังเกตการณ์พิเศษ ผู้ได้รับเชิญ หรือสถานภาพอื่นที่อาจจัดตั้งขึ้นต่อไป
ข้อ 45 ความสัมพันธ์กับระบบสหประชาชาติและองค์การและสถาบันระหว่างประเทศอื่น อาเซียนอาจขอสถานภาพที่เหมาะสมกับระบบสหประชาชาติ รวมทั้งกับองค์การและสถาบันระดับอนุภูมิภาค ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศอื่น
ข้อ 46 การรับผู้แทนของรัฐที่มิใช่สมาชิกอาเซียน รัฐที่มิใช่สมาชิกอาเซียนและองค์การระหว่างประเทศในระดับรัฐบาลที่เกี่ยวข้องอาจแต่งตั้งและส่งเอกอัครราชทูตเป็นผู้แทนประจำอาเซียน ให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการรับผู้แทน


บทความโดย : Dek-South East Asia


ติมอร์-เลสเต กับการเป็นสมาชิกอาเซียน

ที่มาภาพ : https://aseanwatch.org/2019/10/04/ติมอร์-เลสเตกับอาเซียน-2562/



หลังจากที่ติมอร์เลสเต หรือติมอร์ตะวันออก แยกตัวเป็นอิสระจากอินโดนีเซียเมื่อปี 1999 และได้ยื่นเอกสารคำร้องเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ของอาเซียนต่างสนับสนุนให้ติมอร์เลสเตเข้าร่วม แต่ก็ยังอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์อาเซียน เพราะยังมีบางประเทศที่ยังสงวนท่าทีไม่ยอมรับให้เข้าร่วม ถึงแม้ว่าติมอร์เลสเตจะผ่านเกณฑ์การเข้าเป็นสมาชิกใหม่ตามหมวดที่ 3 มาตรา 6 ของกฎบัตรอาเซียนในเรื่องการรับสมาชิกใหม่ คือ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การตกลงที่จะผูกพันและเคารพกฎบัตรนี้ ตลอดจนมีความกระตือรือร้นอย่างมากในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของอาเซียน แต่ติมอร์-เลสเตต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการที่ยังไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้ เพราะตามที่กฎบัตรอาเซียนได้ระบุถึงหลักเกณฑ์ที่ติมอร์เลสเต ยังไม่มีนั่นคือ การยอมรับโดยสมาชิกอาเซียนทั้งปวง (บางประเทศสมาชิกไม่ยอมรับ) ซึ่งก็มีเหตุผลดังต่อไปนี้

แผนที่ประเทศติมอร์-เลสเตม
ที่มาภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศติมอร์-เลสเต#/media/ไฟล์:LocationEastTimor.svg


ชาติอาเซียนบางประเทศเห็นว่าติมอร์-เลสเตนั้นยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะดำเนินภารกิจในกรอบของอาเซียนได้ อาทิ การจ่ายค่าส่วนกลางสำหรับการบริหารกิจการอาเซียน การจัดประชุมสุดยอดในฐานะประธานอาเซียน และการฝึกซ้อมทางทหารกับชาติมหาอำนาจ เป็นต้น การที่ติมอร์-เลสเต ซึ่งเป็นประเทศเกิดใหม่มีประชากรเพียงแค่ 1 ล้านคน และมี GDP เพียงแค่ 2,900 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ทำให้ชาติอาเซียนบางประเทศไม่มั่นใจว่าติมอร์-เลสเตจะสามารถปฏิบัติตามภารกิจของอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากต้องใช้บุคลากรและงบประมาณเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีประเด็นด้านช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างติมอร์-เลสเตกับชาติสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อันจะส่งผลให้เกิดการชะลอการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค สำหรับติมอร์-เลสเตนั้นมีกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund)ซึ่งรายได้หลักมาจากทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ อันมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ในอีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้า และรายได้ดังกล่าวอาจจะเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญของอาเซียนในการเสริมสร้างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค อีกทั้งการรับติมอร์-เลสเต เข้าเป็นสมาชิกจะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและหมุดหมายความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน ที่แสดงให้เห็นว่าอาเซียนมีส่วนสำคัญต่อการสร้างสันติภาพในภูมิภาค รวมถึงในกรณีที่อินโดนีเซียสามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศเพื่อนบ้านที่เคยมีความขัดแย้งและได้แยกตัวเป็นเอกราชออกไปแห่งนี้


บทความโดย : Dek-South East Asia

กฎหมายระหว่างประเทศ กับ องค์การระหว่างประเทศ


ที่มาภาพ : http://oknation.nationtv.tv/blog/Thaihippy/page92


บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ

ตามข้อ 38 ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่

1) สนธิสัญญาระหว่างประเทศ เป็นตราสารที่เกิดจากความตกลงยินยอมของรัฐต่างๆ ผูกพันเฉพาะรัฐที่แสดงเจตนาเข้าผูกพัน โดยการลงนามให้สัตยาบัน บรรดาอนุสัญญา ข้อตกลง (accord) ความตกลง (agreement) หรือ charter แม้มีชื่อเรียกต่างกัน แต่มีฐานะในทางกฎหมายระหว่างประเทศเท่าเทียมกัน
- การลงนามรับรอง ยังไม่ผูกพันรัฐ เป็นเพียงการยืนยันความถูกต้องหลังจากการเจรจา ต้องให้สัตยาบันจึงจะมีผลผูกพัน
- การภาคยานุวัตร เป็นการแสดงเจตนาเข้าเป็นภาคีหลังระยะเวลาการเปิดให้สัตยาบันของสนธิสัญญาสิ้นสุดลง
2) จารีตประเพณีระหว่างประเทศ เกิดจากการปฏิบัติของรัฐหลายรัฐเป็นช่วงระยะหนึ่งและเกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎหมาย เช่น เขตเศรษฐกิจจำเพาะ, EIA
3) หลักกฎหมายทั่วไป เป็นหลักการหรือแนวคิดทางนิติศาสตร์ที่มีไว้เพื่อผดุงความยุติธรรม ส่วนใหญ่นำมาจากกฎหมายภายใน แต่บางหลักก็เกิดขึ้นจากสังคมระหว่างประเทศ เช่น หลักห้ามแทรกแซงกิจการภายใน หลักไม่มีผู้ใดบังคับรัฐขึ้นศาลระหว่างประเทศได้ หากปราศจากความยินยอม

ที่มาภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน

     องค์การระหว่างประเทศ เป็นรูปแบบหนึ่งของกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐเป็นสถาบันที่มีลักษณะถาวร ต่อเนื่อง และสามารถดำเนินการได้อย่างอิสระ โดยอาศัยกรอบการดำเนินงานที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่รัฐสมาชิกผู้ก่อตั้งมีเจตจำนง
การก่อตั้ง  ก่อตั้งโดยตราสารที่สะท้อนเจตจำนงของรัฐสมาชิกที่เป็นผู้กำหนดเนื้อหาอำนาจสิทธิหน้าที่ของรัฐสมาชิก ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของสนธิสัญญา เช่น UN  EU หรือตราสารที่ก่อตั้งเป็นมติ เช่น OPEC ASEAN

ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ
-มีการรวมกลุ่มอย่างถาวรของรัฐ
-มีการแบ่งแยกอย่างเด็ดขาด ถึงจุดมุ่งหมายและอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์การระหว่างประเทศกับรัฐสมาชิก
-องค์การระหว่างประเทศมีการปฏิบัติหน้าที่อย่างเอกเทศในระดับระหว่างประเทศมิใช่ระดับชาติ
-ขอบข่ายอำนาจขององค์การระหว่างประเทศเป็นไปตามตราสารก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศซึ่งแตกต่างไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การระหว่างประเทศ

อำนาจหน้าที่ มีหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์การ จะต้องไม่กระทำการเกินขอบอำนาจ โดยทั่วไปมีอำนาจในการออกกฎเกณฑ์ใช้บังคับควบคุมรัฐสมาชิก แต่ไม่อำนาจบังคับบัญชา ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ขององค์การระหว่างประเทศ
ผู้ทรงสิทธิในกฎหมายระหว่างประเทศ (บุคคลในทางระหว่างประเทศ) คือ บุคคลที่ได้รับการรับรองว่ามีสภาพบุคคลในทางระหว่างประเทศมีความสามารถที่จะถือสิทธิและมีหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

ผลของการมีสภาพบุคคลในทางระหว่างประเทศ

1) สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ  ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 104 องค์การฯจะมีความสามารถทางกฎหมายในดินแดนของรัฐสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเท่าที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่การงานขององค์การและเพื่อให้บรรลุตามความมุ่งประสงค์ขององค์การ 
2) ความสามารถในการเรียกร้องประโยชน์จากสิทธิ ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ข้อ 34 การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี และ ข้อ 96 การร้องขอศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย
3) มีความสามารถในแง่นิติสัมพันธ์
บุคคลธรรมดาเป็นผู้ทรงสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ บุคคลธรรมดาเป็นผู้ทรงสิทธิที่ไม่ได้มีสิทธิตามระบบกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง แต่ที่มีภายใต้ความยินยอมของรัฐ สิทธิของบุคคลธรรมดาจึงมีจำกัด โดยมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีสิทธิทำสนธิสัญญาหรือเรียกร้องโดยตรงในเวทีระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน
ในส่วนที่คล้ายคลึงกันคือเรื่องการยอมรับ
          แต่ละประเทศจึงเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศที่บรรดานานาอารยประเทศ (civilized nations) ยอมรับร่วมกันให้มีผลผูกพัน
ในส่วนการขัดกันของกฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ
          จะถือว่ากฎหมายใดมีลำดับศักดิ์สูงกว่ากันนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับระบบกฎหมายภายในของแต่ละประเทศที่กำหนดไว้ให้กฎหมายใดมีผลบังคับใช้ หรือกำหนดขั้นตอน กระบวนการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ ให้มีผลบังคับในประเทศของตน
         ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากมีการขัดกันระหว่างกฎหมายในกับกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว จึงถือว่ากฎหมายระหว่างประเทศมีลำดับศักดิ์สูงกว่า

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีทวินิยม กฎหมายระหว่างประเทศไม่มีผลบังคับโดยตรงภายในรัฐ จะมีผลภายในรัฐก็ต่อเมื่อรัฐได้ออกกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น ประเทศไทย

2. ทฤษฎีเอกนิยม กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในเป็นหนึ่งเดียวกัน กฎหมายระหว่างประเทศใช้บังคับโตยตรงภายในรัฐได้ โดยไม่ต้องออกกฎหมายเพื่ออนุวัตรการ รัฐยอมรับว่าการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้นยังต้องตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศบางประการเช่นเดียวกัน  โดยที่รัฐไม่สามารถที่จะแสดงเจตจำนงหรือยกเว้นเป็นประการอื่นได้ เช่น กฎหมายเด็ดขาด กฎหมายระหว่างประเทศที่ห้ามการรุกราน การทำลายล้างเผ่าพันธุ์
*กฎหมายเด็ดขาดของกฎหมายระหว่างประเทศย่อมอยู่ในลำดับที่สูงกว่ากฎหมายภายในของรัฐ

ประเทศไทยยื่นสัตยาบันสารอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ที่มาภาพ : http://humanrights.mfa.go.th/th/news/119/

อนุสัญญา/สนธิสัญญา/ความตกลง/ข้อตกลง มีผลผูกพันเฉพาะรัฐที่แสดงเจตนายอมเขาเป็นภาคี

องค์ประกอบของสนธิสัญญา
1.ข้อความตกลงยอมรับร่วมกัน สนธิสัญญาจะต้องเกิดจากความยินยอมพร้อมใจไม่เกิดจากการข่มขู่หรือการฉ้อโกง
2.คู่ภาคี
3.พันธะผูกพันทางกฎหมาย

ขั้นตอนการทำสนธิสัญญา
1.การเจรจา ต้องมีลักษณะตามมาตรา 7 อนุสัญญากรุงเวียนนา และเข้าร่วมทำความตกลง
2.การลงนาม เป็นขั้นตอนการยอมรับตามข้อตกลงในสนธิสัญญา ลงนามย่อ,ลงนามเต็ม
3.การให้สัตยาบัน ถือเป็นขั้นตอนการยอมรับครั้งสุดท้ายและเกิดผลสมบูรณ์ให้รัฐภาคีผูกพันตามสนธิสัญญา มีวัตถุประสงค์ให้รัฐภาคีได้พิจารณาทบทวน
4.การจดทะเบียน เป็นไปตามมาตรา 102 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

ผลของสนธิสัญญา
ย่อมเกิดพันธะทางกฎหมายให้รัฐภาคีมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย โดยหลักสนธิสัญญาจะไม่ก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ของบุคคลภายนอก แต่มีข้อยกเว้นคืออาจก่อให้เกิดสิทธิหรือภาระแก่รัฐที่สามก็ได้เช่น กรณีคลองสุเอซที่เปิดเป็นคลองสาธารณะ

การสิ้นสุดสนธิสัญญา
1.เมื่อถึงกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา
2.คู่ภาคีตกลงให้สนธิสัญญาสิ้นผล
3.คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญา
4.คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญา
5.เมื่อเกิดสถานการณ์อย่างหนึ่งเช่นภาวะสงคราม
6.เมื่อมีการทำสัญญาขึ้นใหม่
7.เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยของคู่สัญญา
8.เมื่อสนธิสัญญาขัดต่อหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศที่สร้างขึ้นใหม่


บทความโดย : Dek-South East Asia