หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ติมอร์-เลสเต กับการเป็นสมาชิกอาเซียน

ที่มาภาพ : https://aseanwatch.org/2019/10/04/ติมอร์-เลสเตกับอาเซียน-2562/



หลังจากที่ติมอร์เลสเต หรือติมอร์ตะวันออก แยกตัวเป็นอิสระจากอินโดนีเซียเมื่อปี 1999 และได้ยื่นเอกสารคำร้องเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ของอาเซียนต่างสนับสนุนให้ติมอร์เลสเตเข้าร่วม แต่ก็ยังอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์อาเซียน เพราะยังมีบางประเทศที่ยังสงวนท่าทีไม่ยอมรับให้เข้าร่วม ถึงแม้ว่าติมอร์เลสเตจะผ่านเกณฑ์การเข้าเป็นสมาชิกใหม่ตามหมวดที่ 3 มาตรา 6 ของกฎบัตรอาเซียนในเรื่องการรับสมาชิกใหม่ คือ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การตกลงที่จะผูกพันและเคารพกฎบัตรนี้ ตลอดจนมีความกระตือรือร้นอย่างมากในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของอาเซียน แต่ติมอร์-เลสเตต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการที่ยังไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้ เพราะตามที่กฎบัตรอาเซียนได้ระบุถึงหลักเกณฑ์ที่ติมอร์เลสเต ยังไม่มีนั่นคือ การยอมรับโดยสมาชิกอาเซียนทั้งปวง (บางประเทศสมาชิกไม่ยอมรับ) ซึ่งก็มีเหตุผลดังต่อไปนี้

แผนที่ประเทศติมอร์-เลสเตม
ที่มาภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศติมอร์-เลสเต#/media/ไฟล์:LocationEastTimor.svg


ชาติอาเซียนบางประเทศเห็นว่าติมอร์-เลสเตนั้นยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะดำเนินภารกิจในกรอบของอาเซียนได้ อาทิ การจ่ายค่าส่วนกลางสำหรับการบริหารกิจการอาเซียน การจัดประชุมสุดยอดในฐานะประธานอาเซียน และการฝึกซ้อมทางทหารกับชาติมหาอำนาจ เป็นต้น การที่ติมอร์-เลสเต ซึ่งเป็นประเทศเกิดใหม่มีประชากรเพียงแค่ 1 ล้านคน และมี GDP เพียงแค่ 2,900 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ทำให้ชาติอาเซียนบางประเทศไม่มั่นใจว่าติมอร์-เลสเตจะสามารถปฏิบัติตามภารกิจของอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากต้องใช้บุคลากรและงบประมาณเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีประเด็นด้านช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างติมอร์-เลสเตกับชาติสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อันจะส่งผลให้เกิดการชะลอการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค สำหรับติมอร์-เลสเตนั้นมีกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund)ซึ่งรายได้หลักมาจากทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ อันมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ในอีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้า และรายได้ดังกล่าวอาจจะเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญของอาเซียนในการเสริมสร้างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค อีกทั้งการรับติมอร์-เลสเต เข้าเป็นสมาชิกจะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและหมุดหมายความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน ที่แสดงให้เห็นว่าอาเซียนมีส่วนสำคัญต่อการสร้างสันติภาพในภูมิภาค รวมถึงในกรณีที่อินโดนีเซียสามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศเพื่อนบ้านที่เคยมีความขัดแย้งและได้แยกตัวเป็นเอกราชออกไปแห่งนี้


บทความโดย : Dek-South East Asia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น