หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562

กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ

ที่มาภาพ : http://live.siammedia.org/index.php/news/usa-news/45191

กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ

ในอดีตการระงับข้อพิพาททางกฎหมายมีอยู่ 2 วิธีคือ การทำสงครามและสันติวิธี แต่ในปัจจุบันการระงับข้อพิพาทโดยการทำสงคราม ได้มีการห้ามไว้ในสนธิสัญญาปารีสฉบับปี 1928  โดยระบุถึงการยกเลิกการทำสงครามรุกรานและห้ามใช้สงครามเป็นตราศาลนโยบายแห่งชาติ เว้นแต่ในกรณีที่จะป้องกันตนเองเท่านั้น โดยวิธีการระงับข้อพิพาทในปัจจุบันที่เป็นที่ยอมรับกัน คือ การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

      1.   การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่ไม่มีลักษณะทางตุลาการ หรือ วิธีทางการทูต ซึ่งวิธีนี้รัฐสามารถเข้ามาระงับข้อพิพาทกันเองได้ โดยใช้วิธีการเจรจา การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม เป็นต้น
-การใช้วิธีเจรจา
-การไกล่เกลี่ย Mediation or Good Office  ฝ่ายที่สามเข้ามามีส่วนร่วม ข้อเสนอไม่ผูกพันกับข้อพิพาท ฝ่ายที่สาม (บุคคลหนึ่งคน หรือหลายบุคคล รัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ) เข้ามาเอื้ออำนวยให้คู่กรณีเจรจากันเพื่อระงับข้อพิพาท mediation มีนัยว่าฝ่ายที่สามเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาด้วย  ในขณะที่ good offices เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายที่สามพยายามจัดให้คู่กรณีเจรจากัน

-การประนีประนอม  Conciliation ผู้ประนีประนอมต้องเข้าร่วมด้วย แต่ต้องหาข้อเท็จจริง

2.  การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการที่มีลักษณะทางตุลาการ หรือ วิธีศาล ในกรณีนี้สามารถทำได้  2 วิธี คือ การใช้อนุญาโตตุลาการในการตัดสิน และ การใช้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการตัดสิน


ที่มาภาพ : https://epthinktank.eu/tag/isds/

การใช้อนุญาโตตุลาการในการตัดสิน

การอนุญาโตตุลาการ เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทวิธีหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความสมัครใจของคู่พิพาทตกลงกัน ให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างกัน โดยคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จะมีผลผูกพันให้คู่พิพาทต้องปฏิบัติตาม สัญญาที่สามารถระงับได้โดยการอนุญาโตตุลาการ การทำสัญญานั้นไม่ว่าจะเป็นสัญญาด้านการค้าและการลงทุน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญารับเหงาก่อสร้าง สัญญาประกันภัย สัญญาเกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัท เป็นต้น หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น คู่สัญญาสามารถตกลงด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการ โดยอาจทำเป็นข้อสัญญาหนึ่งในสัญญาหลักหรือเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการแยกต่างหากก็ได้ เมื่อมีข้อสัญญาแล้วคู่พิพาทก็ดำเนินการดำเนินข้อพิพาทได้ โดยอนุญาโตตุลาการที่ได้รับการเสนอชื่อและแต่งตั้งต้องมีความอิสระและเป็นกลาง รวมถึงมีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

**กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน ISDS

โดยหลักการแล้วกลไกนี้มีไว้เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติว่า เมื่อเขาเข้ามาลงทุนในประเทศของเราแล้ว รัฐบาลของเราจะไม่ไปรังแกเขา เมื่อเขามั่นใจมากขึ้นก็จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนจากสหภาพยุโรปหอบเงินลงทุนมาตั้งโรงงานในไทย ถ้าอยู่ๆ รัฐของเราไปเขา เขาก็สามารถไปฟ้องร้องได้ แต่เขาอาจจะไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของเราหรืออยากให้เรื่องจบเร็วๆ ก็ไปฟ้องผ่านกลไกล ISDS นี้ได้โดยไม่ต้องผ่านศาลไทยและไม่เสียเวลาด้วย ซึ่งวิธีการก็คือ การไปใช้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ที่มีเงื่อนไขว่าการตัดสินใจของอนุญาโตตุลาการถือเป็นที่สิ้นสุด คู่กรณีต้องทำตามไม่ว่าผลนั้นจะเป็นอย่างไร โดยกลไกอนุญาโตตุลาการนี้จะเป็นการตัดสินใจของคนสามคน ประกอบด้วย นักลงทุน 1 คน รัฐบาล 1 คนและคนที่สามก็คือคนที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน ทั้งสามคนนี้จะเป็นผู้ตัดสิน โดยประชุมลับกัน ศึกษาตัวสัญญา แล้วตัดสินว่ารัฐบาลผิดหรือไม่ และถ้าผิดแล้วจะต้องถูกลงโทษอย่างไร จ่ายค่าเสียหายเท่าไหร่


ที่มาภาพ : http://popcornfor2.com/content/เปิดคำแถลงด้วยวาจาของกัมพูชาต่อศาลโลก-คดีปราสาทพระวิหาร-news-31777

การใช้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการตัดสิน

ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก จัดตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติ มีเขตอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในศาลรัฐธรรมนูญระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่
1.       ตัดสินคดีข้อพิพาทระหว่างรัฐบาล รัฐภาคี ที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหรือ UN และเป็นประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก
2.       การวินิจฉัย ตีความและให้คำปรึกษา ในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายให้แก่องค์การระหว่างประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก

       การเข้ามามีบทบาทของศาลโลก ศาลโลกจะเข้ามามีบทบาทเมื่อเกิดข้อพิพาทตั้งสองประเทศขึ้นไป ยกตัวอย่างเรื่องข้อพิพาทของดินแดนและอาณาเขตของรัฐ การละเมิดอำนาจของรัฐ เช่น กรณีข้อพาทปราสาทเขาพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา โดยข้อพิพาทนี้ได้นำขึ้นสู่ศาลโลกโดยได้รับคำยินยอมของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมอำนาจของศาลให้เป็นผู้ตัดสินพิจารณาคดีนั้นก่อน ศาลจึงจะมีอำนาจในการพิจารณาตัดสินคดีนั้น และศาลโลกจะมีหน้าที่ในการพิจารณาเฉพาะเรื่องที่เป็นประเด็นระหว่างประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ศาลโลกยังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้ความเห็น เกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายระหว่างประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ผลของคำวินิจฉัยของศาลโลก ย่อมมีผลผูกพันกับคู่พิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นที่พิพาทนั้นและถือเป็นที่สิ้นสุดโดยไม่มีการอุธรใดๆ








บทความโดย : Dek-South East Asia

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น