หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ติมอร์-เลสเตกับการสร้างชาติ


 ที่มาภาพ :  https://th.wikipedia.org/wiki/

       เกาะติมอร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตามสนธิสัญญาลิสบอน  โดยติมอร์ตะวันออกปกครองโดยโปรตุเกส และติมอร์ตะวันตกปกครองโดยออลันดา  ในปี 1974 ติมอร์ตะวันออกเกิดการรัฐประหารและมีผู้นำคนใหม่  ซึ่งผู้นำคนใหม่มีข้อเสนอ 3 ข้อให้แก่ชาวติมอร์ตะวันออกว่า   
1.เป็นดินแดนที่ปกครองโดยโปรตุเกส
2.เป็นประเทศเอกราช
3.รวมเป็นหนึ่งกับอินโดนีเซีย

       ซึ่งข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ  ได้ก่อให้เกิดพรรคการเมืองขึ้น   เหตุการณ์รัฐประหารการเปลี่ยนแปลงการปกครองของโปรตุเกส ทำให้อินโดนีเซียเกิดความกังวลใจและอยากครอบครองติมอร์ตะวันออก จึงเริ่มเข้าแทรกแซงกิจการภายในของติมอร์ตะวันออก  เมื่อรัฐบาลโปรตุเกสให้อิสรภาพ พรรคเฟรติลิน จึงตัดสินใจประกาศเอกราชโดยจัดตั้งสาธารณะรัฐประชาธิปไตยติมอร์ตะวันออกในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1975  อินโดนีเซียได้กล่าวหาว่าการกระทำดังกล่าวเป็นพวกฝ่ายคอมมิวนิสต์ จึงได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองและสังหารประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นจำนวนมาก สุดท้ายได้ผนวกติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นจังหวัดหนึ่งของอินโดนีเซียโดยไม่สนใจคำประณามของประชาคมโลกและอ้างว่าเป็นนโยบายบูรณาการแผ่นดินของนายซูฮาร์โตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย 

     การใช้ทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ในติมอร์ตะวันออกรวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอินโดนีเซียทำให้ชาวติมอร์ตะวันออกลุกขึ้นมาต่อต้านเพื่อเรียกร้องเอกราช  เมื่อนายซูฮาร์โตลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี  นายบี เจ อาบิบี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน  โดยอินโดนีเซียจะให้อิสระภาพกับประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก ซึ่งนำไปสู่การออกเสียงลงประชามติ  พบว่า 78.5% ออกเสียงแยกตัวเป็นเอกราช  กลุ่ม Militia  ที่สนับสนุนการรวมตัวกับอินโดนีเซียเกิดความไม่พอใจจึงได้ก่อความรุนแรงขึ้นที่เมืองดิลี โดยการเข่นฆ่า ทำร้ายและเผาบ้านเรือนหลายหลัง  เหตุการ์ดังกล่าวทำให้สหรัฐอเมริกางดให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่อินโดนีเซีย  ทำให้อินโดนีเซียต้องยอมรับผลลงประชามติอย่างจำนน  ติมอร์ตะวันออกหรือติมอร์เลสเต ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2002  


ชาวติมอร์ตะวันออกยืนชูเอกสารลงทะเบียนระหว่างรอการลงประชามติ
อย่างคับคั่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 1999
ที่มาภาพ :  https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_1989


      ปัญหาทางสังคมที่ตามมาหลังจากได้รับเอกราช  คือ ปัญหาประชากรพลัดถิ่นจากวิกฤติความรุนแรงหลังการลงประชามติ  ปัญหาุขภาพอนามัย ขาดแคลนอาหาร เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านการศึกษา ขาดผู้เชียวชาญ นักเรียนเรียนซ้ำมีอัตราสูง  พลเมื่องมีอัตราการเกิดสูง  ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น



บทความ :  Dek-South East


โรฮิงญา ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง



รัฐยะไข่ในพม่า
ที่มาภาพ : https://www.the101.world/thoughts/rohingya-crisis-through-historical-perspective/


คำว่า โรฮิงญา เป็นคำที่ชาวมุสลิมในรัฐยะไข่นำมาใช้เพื่อแทนอัตลักษณ์ของตนเอง

       ในปี 1948 หลังพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ชาวโรฮิงญาจะถูกรับรองในความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในสมัยรัฐบาลอูนุ และมีการตั้งเขตปกครองพิเศษ แต่ภายหลังการยึดอำนาจของนายพลเนวินเมื่อปี 1962 จึงได้นำระบบสังคมนิยมแบบพม่ามาใช้และปลุกกระเเสชาตินิยมพม่าพุทธ  ชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นมุสลิมจึงไม่ได้รับสิทธิในการเป็นพลเมืองพม่าตามกฎหมายสัญชาติ  ทำให้สถานะของชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่กลายเป็นผู้อพยพที่ไม่มีสิทธิใดๆ รอเพียงการผลักดันให้ออกนอกประเทศ



ชาวกะมาน กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในยะไข่ที่นับถือศาสนาอิสลาม
 แต่ได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งใน 135 กลุ่มชาติพันธุ์ของพม่า
ที่มาภาพ : https://www.the101.world/thoughts/rohingya-crisis-through-historical-perspective/

     ปัญหาวิกฤตโรฮิงญาในพม่าจึงมีสาเหตุมาจากการไม่ถูกยอมรับในสังคมพม่า อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงญากับชาวพม่าและปัญหาอคติทางศาสนาที่ซับซ้อน  ดังนั้นปัญหาชาวโรฮิงญาจึงเป็นปัญหาที่ประกอบสร้างขึ้นจากการสร้างรัฐชาติใหม่ในพม่า  มีการกีดกันคนที่ไม่มีความละม้ายคล้ายชาวพม่าออกไป ทั้งนี้เมื่อกระแสความเกลียดชังศาสาอิสลามเกิดขึ้น ทำให้ชาวพุทธในพม่าเริ่มต่อต้านชาวมุสลิมและนำวาทกรรมที่ว่าชาวมุสลิมคือผู้รุกรานและจ้องจะทำร้ายศาสนาพุทธมาใช้เป็นข้ออ้างในการขับไล่ชาวโรฮิงญา



ที่มา : https://www.the101.world/thoughts/rohingya-crisis-through-historical-perspective/
บทความ : Dek-South East


เขมรแดง สังหารสะเทือนโลก



นายพอล พต
ที่มาภาพ :  https://th.wikipedia.org/wiki/

      17 เมษายน 1975 เริ่มต้นยุคเขมรแดงเรืองอำนาจ  เหตุการณ์สะเทือนโลกนี้เริ่มต้นจากนายลอนนอลได้ทำรัฐประหารรัฐบาลหุ่นเชิดของสหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนมาจัดตั้งรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย โดยมีเจ้าสีหนุได้กลับมาดำรงตำแหน่งประมุขแห่งกัมพูชาอีกครั้ง ก่อนกองกำลังฝ่ายซ้ายคอมมิวนิสต์กัมพูชาหรือเขมรแดงซึ่งมีเวียดกงเป็นพันธมิตรเข้ายึดอำนาจในทีี่สุด  จากนั้นกัมพูชาก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของ นายพอลพต ผู้นำเขมรแดง โดยนายพอลพตมีการนำนโยบายปรับปรุงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมพึ่งตนเองมาใช้  โดยไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอกและไม่ยอมเป็นสัมพันธมิตรกับชาติใดๆ มีการปิดโรงเรียน โรงพยาบาล และยกเลิกระบบธนาคารทั้งหมด 

       ด้วยความคลั่งลัทธิซ้ายของพอลพต  เขาเชื่อว่าระบบสังคมนิยมจะนำกัมพูชาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองดังเช่นอดีต  ดังนั้นประเทศควรจะอยู่อย่างสันโดษ ไม่ต้องเพิ่มวิทยาการเทคโนโลยีใดๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงนำมาซึ่งการกวาดล้างผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ทางความคิด นักศึกษา ปัญญาชน นักปราญ์ นักการเมือง และบุคคลผู้มีความรู้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักจะถูกฆ่าอย่างไร้เหตุผล 

ทุ่งสังหาร
ที่มาภาพ : http://www.koratdaily.com/blog.php?id=3971


       นายพอลพตต้องการให้กัมพูชามีแต่ชนชั้นกรรมมาชีพ จึงได้หลอกล่อประชาชนออกจากเมืองไปยังชนบทและใช้แรงงานเพื่อทำการเกษตร ซึ่งต้องทำงานวันละ 11 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพก ในระยะเวลา 4 ปีที่นายพอลพตกุมอำนาจ  ทำให้มีผู้คนล้มตาย อดอยาก ถูกทารุณกรรมและถูกฆ่าเกือบ 3 ล้านคน นอกจากนี้เขมรแดงยังต้องการให้กัมพูชามีแต่คนเชื้อสายเดียวกัน คือ กัมพูชาเท่านั้นจึงเกิด  ทุ่งสังหาร เพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเวียดนาม ซึ่งพวกเขมรแดงมองว่าชาวเวียดนามจะมีนโยบายกลืนชาติ นอกจากนี้ยังมีชาวจีนและชาวเขมรด้วยกันเอง นับเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดในเอเชียอาคเนย์ จนกระทั่งกัมพูชามีปัญหาทะเลาะเรื่องพรมแดนกับเวียดนาม ทำให้เวียดนามส่งกองทัพบุกยึดกรุงพนมเปญ ทำให้เขมรแดงต้องหลบหนีไปอยู่บริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา รัฐบาลเฮง สัมริน ผู้นำที่ต่อต้านกลุ่มเขมรแดงได้ดำเนินการปราบปรามเขมรแดง ทำให้นายพอลพตต้องลงจากอำนาจและกลุ่มเขมรแดงต้องถอยหนีไปที่สุดเมื่อปี 1978

ที่มาภาพ :  http://www.koratdaily.com/blog.php?id=3971

ที่มาภาพ : https://pantip.com/topic/33893718

ที่มาภาพ : https://pantip.com/topic/33893718




ที่มา :
http://kritanut.blogspot.com/2012/04/blog-post.html
https://prachatai.com/journal/2014/01/51483
https://aec.kapook.com/view52137.html

บทความ : Dek-South East

พม่ากับการสร้างชาติ



ที่มาภาพ : http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/news_preview.php?cid=18012



       เมื่อปี 1948 พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษและอูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกจากพรรค AFPFL  ภายใต้การนำของรัฐบาลอูนุได้นำระบบสังคมนิยมประชาธิปไตยเข้ามาใช้ในการบริหารประเทศ  รวมถึงความพยายามสร้างพม่าให้เป็นรัฐสวัสดิการ ปรับปรุงโครงสร้างขั้นพื้นฐานต่างๆ การกระจายที่ดินทำกินให้เกษตรกร  เน้นการพััฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าเพื่อเศรษฐกิจที่เติบโต อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลอููนุก็มีหลายอย่างเช่นกัน อาทิ การเกิดสงครามการเมืองของคอมมิวนิสต์ระหว่างฝ่ายธงแดงและธงขาว  การก่อกบฏของชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย การรุกรานของกองทัพก๊กมินตั๋ง รวมถึงความขัดแย้งภายในพรรค AFPFL ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อูนุดึงนายพลเนวินเข้ามาช่วยแก้ปัญหา  


สมาชิคพรรค AFPFL
ที่มาภาพ : http://lungthli.blogspot.com/2015/03/
kawlram-chung-party-thawng-bik-afpfl.html



       จนกระทั่งปี 1962 เนวินได้ก่อรัฐประหารอูนุ  ทำให้พม่าตกอยู่ภายใต้ยุคเผด็จการ มีการยกเลิกรัฐสภาทั้งหมด จัดตั้งพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า  เปลี่ยนระบบการปกครองเป็นแบบสังคมนิยม  นอกจากนี้ยังมีการจัดการด้านเชื้อชาติ คือ การไม่ยอมรับชาติพันธุ์กลุ่มอื่นนอกเหนือจากชาวพม่า  การขับไล่ชาวต่างชาติออกไปจากพม่า พม่าจึงกลายเป็นประเทศปิดยาวนานกว่า 30 ปี  ทั้งนี้การปิดประเทศของพม่าส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจฝืดเคือง  ประชาชนยากจน  จนนำมาซึ่งการประท้วงของกลุ่มนักศึกษากว่าหนึ่งหมื่นคน เนวินจึงประกาศใช้กฎอัยการศึก  โดยใช้แก๊สน้ำตาทำร้ายและเข่นฆ่าผู้ชุมนุมหลายคน จึงเรียกเหตุการณ์นองเลือดนี้ว่า  8.8.88  เนื่องจากเกิดขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 1988 



ที่มาภาพ : http://picssr.com/tags/assk/page5



ที่มาภาพ : http://www.wolverton-mountain.com/articles/a-tribute-to-the-lady.html

      ภายหลังการประท้วงเนวินจึงประกาศลาออกจากตำแหน่ง และส่งเสิ่ง ลวิน ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนซึ่งเป็นการสืบทอดอำนาจ  จนกระทั่งถึงสมัยของ ซอ หม่อง ได้เปลี่ยนชื่อจากพม่า เป็น เมียนมาร์ เพื่อต้องการลบภาพลักษณ์อาณานิคมและสร้างความเป็นเอกภาพภายในประเทศ  



ที่มาภาพ : https://sites.google.com/site/reiynrupraathesmeiynmar/


      กระทั่งถึงช่วงเปลี่ยนผานสู่ประชาธิปไตยปี 2015 จัดให้มีการเลือกตั้งซึ่งพรรค NLD ของอองซาน ซูจี เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง มีรัฐบาลที่มาจากประชาชนเป็นครั้งแรก มี ถิ่น จอ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ปัจจุบันอองซาน ซูจี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  นอกจากนี้พม่ายังประสบกับปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่ไม่กลมกลืน  โดยเฉพาะการพยายามแก้ปัญหาเรื่องสนธิสัญญาปางโหลง ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ว่าด้วยอิสรภาพของชาวโรฮิงญา   แต่เมื่ออองซานถูกลอบสังหารจึงทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดวิกฤตชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ของพม่าเป็นที่น่าจับตามองของนานาประเทศ


ที่มาภาพ : https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_502784





บทความ :  Dek-South East

อินโดนีเซียกับการสร้างชาติ

     
การเชิญธงชาติอินโดนีเซียขึ้นสู่ยอดเสาครั้งแรกในพิธีประกาศเอกราช
ที่มาภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/



        7 สิงหาคม 1949  อินโดนีเซียได้รับเอกราชจากฮอลันดา โดยมี ซูการ์โน ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรก  อินโดนีเซียเข้าสู่ยุคใหม่ในการพัฒนาความเป็นชาติเรียกว่ายุค ประชาธิปไตยแบบชี้นำ  ซูการ์โนได้นำนโยบายนี้มาเป็นแกนกลางในการบริหารประเทศ  แต่ก็ประสบกับปัญหามากมายทั้งด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มจำนวนประชากร  การฉ้อราษฏ์บังหลวง จนเกิดการต่อต้านจากระชาชนหลายกลุ่ม ซูการ์โนจึงประกาศใช้กฏอัยการศึก  ซึ่งทำให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น



ซูฮาร์
ซูการ์โน



       เมื่อซูฮาร์โตนำประเทศเข้าสู่ค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์  การเมืองและเศรษฐกิจก็เริ่มผันผวนอย่างมาก   อีกทั้งประธานาธิบดีไม่สนใจแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังบวกกับเลิกคบหากับประเทศตะวันตกทั้งหมด  เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI)  เป็นพรรคที่เข้มแข็งที่สุด  ด้วยความตระหนกถึงภัยคอมมิวนิสต์ส่งผลให้นาย ซูฮาร์โต ก่อการรัฐประหารพร้อมกับปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างถอนรากถอนโคน  เรียกเหตุการณ์นี้ว่า เกสตาปู (G30S) หรือ ขบวนการ 30 กันยนยน



ที่มาภาพ http://program.thaipbs.or.th/Artclub/episodes/35826



       เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ซูฮาร์โตช่วยบุกเบิกยุคใหม่ให้กับอินโดนีเซีย โดยมีกองทัพเป็นผู้มีบทบาทในการบริหารประเทศ  ในยุคของซูฮาร์โตได้มีการสร้าง ระเบียบใหม่   เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง โดยเเยกประชาชนออกจากกิจกรรมทางการเมืองทั้งหมด  ในยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โตได้ส่งเสริมสวัสดิการของข้าราชการพร้อมบังคับให้ข้าราชการจงรักภักดีต่อรัฐ  ยึดหลักกฎหมายเพื่อความชอบธรรม  มีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะเวลา 5 ปี ตามแนวทางทุนนิยม  ใช้กองทัพอินโดนีเซียค้ำจุนอำนาจรัฐ ทั้งนี้ซูฮาร์โตได้เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทหารและผู้ใกล้ชิดประธานาธิบดีและบบรรดาเครือญาติ ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีความมั่งคั่ง

      อย่างไรก็ตามซูฮาร์โตก็อยู่ในตำแหน่งนานถึง 32 ปี อินโดนีเซียเริ่มให้มีการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม  2004 โดยมีนายซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงซึ่งแตกต่างจากหลายครั้งที่ผ่านมาที่เป็นแบบสืบทอดอำนาจ  จนถึงปัจจุบันอินโดนีเซียมีประธานาธิบดี 7 คน โดยมีนายโจโก วีโดโด ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่






บทความ : Dek-South East


50 ปีกับการสร้างชาติสิงคโปร์



ที่มาภาพ : https://prachatai.com/journal/2015/03/58556


        ในปี 1948 อังกฤษตั้งสหพันธรัฐมลายา โดยรวมรัฐบนคาบสมุทรมลายูทั้งหมดยกเว้นสิงคโปร์จะมีสถานะเป็นอาณานิคมเนื่องจากเป็นท่าเรือและฐานทัพของอังกฤษ   เมื่อตนกู อับดุล ราห์มานเป็นนายกของมาเลเซียจึงได้ประกาศเเนวคิดที่จะรวมสิงคโปร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย  เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีป้องกันสิงคโปร์ไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลคอมมิวนิสต์และทำให้ฐานเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งกว่าเดิม  

       พรรคกิจประชา(PAP) ที่ถูกก่อตั้งโดยนายลี กวน ยิว ก็สนับสนุนนโยบายนี้เนื่องจากการที่สิงคโปร์เป็นท่าเรือและไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอต่อประชากรในประเทศ  การที่สิงคโปร์ได้รวมเป็นหนึ่งกับสหพันธรัฐมาเลเซียจะทำให้สิงคโปร์สามารถบริหารจัดการทุกอย่างได้ด้วยตนเองและต้องการหลุดพ้นจากการปกครองของอังกฤษเช่นกัน



ลี กวน ยิว
ที่มาภาพ : http://www.softbankthai.com/Article/Detail/915

       หลังจากรวมประเทศกันได้ 1 ปี 11 เดือน ตนกู อับดุล ราห์มานได้ประกาศแยกสิงคโปร์ออกจากสหพันธรัฐมาเลเซีย ในวันที่ 9 สิงหาคม 1965  ด้วยสาเหตุสามประการคือ ด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์สนใจตลาดร่วมแต่มาเลเซียปฏิเสธ  ด้านการเมือง พรรคกิจประชา(PAP) ถูกกีดกันไม่ให้มีอำนาจและถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อมาเลเซีย  ด้านเชื้อชาติ  สิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน มาเลเซียกลัวเรื่องคอมมิวนิสต์จากจีนและเคยเกิดเหตุจลาจลด้านเชื้อชาติถึง 2 ครั้ง


จากวันนั้นถึงวันนี้
ที่มาภาพ : http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id
=312&section=30&issues=23


      อย่างไรก็ตามหลังจากถูกขับออกจากสหพันธรัฐมาเลเซีย ลี กวน ยิว ได้ใช้เวลาสร้างประเทศโดยใช้เวลาเพียง 50  ปี  คือ  ทำให้นานาประเทศยอมรับและเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ  สร้างกองทัพที่เข้มแข็งและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่มั่นคงภายใต้ทุนนิยมเสรี  ในด้านการเมืองของสิงคโปร์มีการปกครองเพียงพรรคเดียวคือ พรรคกิจประชา (PAP) มีนายลี กวน ยิว เป็นผู้นำคนแรก

      การปกครองด้วยระบอบพรรคการเมืองเดียวทำให้สิงคโปร์ไม่ถูกแทรกแซงโดยทหารและมีความมั่นคงทางการเมือง  มีการส่งเริมความเท่าเทียมในเรื่องภาษาโดยกำหนดให้มีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษาแม่ ( มลายู จีน ทมิฬ ) ให้ชายสิงคโปร์เกณฑ์ทหาร  สร้างเมืองอุตสาหกรรม  ควบคุมประชากรภายในประเทศด้วยนโยบาย Stop-At-Two ให้ความสำคัญกับการศึกษา เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติจึงจำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด 


ที่มาภาพ : http://www.banprujud.ac.th/index.php/2015-11-03


      โดยการหลอมรวมความเป็นหนึ่งเดียวกันทางเชื้อชาติของสิงคโปร์จะผ่านทางการศึกษา ทั้งนี้แม้ว่าสิงคโปร์จะมีเสถียรภาพทางการเมืองด้วยระบอบพรรคเดียว ทำให้เกิดข้อกังขา/ไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและมีอำนาจเบ็ดเสร็จในควบคุมสื่อทุกชนิดที่มีเเนวโน้มเป็นภัยต่อรัฐ  แต่รัฐบาลก็พยายามผ่อนคลายความตรึงเครียดด้วยการจัด Speaker's Corner ในสวนสาธารณะเพื่อให้ประชาชนพูดในสิ่งที่อยากพูดหรือแสดงควาคิดเห็นต่อรัฐบาลได้






บทความ :  Dek-South East